บริษัท สำโรงผ้้าเบรค จำักัด : ผ้าเบรครถยนต์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม ศูนย์บริการ โทร 0-2393-9025-6

ผ้าเบรค ROBUST ผู้ผลิต จำหน่าย และสั่งทำ ผ้าเบรคเครื่องจักรอุตสาหกรรม ผ้าเบรคเครื่องเพรส ผ้าเบรคมอเตอร์ ผ้าเบรคครัชน้ำมันและผ้าเบรค เครนทุกชนิด มืออาชีพด้านผ้าเบรคเครื่องจักรอุตสาหกรรม รับประกันคุณภาพทุกรุ่นทุกชนิด ทุกรูปแบบการใช้งาน บริการรวดเร็ว งานด่วนรับซ่อม และจัดส่งได้ภายในวันเดียว
Home : samrongbrakepad.com


สำโรงผ้าเบรค

รวมเรื่องเบรก : ข้อควรระวังและการบำรุงรักษาระบบเบรก


1. ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก ทุก ๆ 25,000 กิโลเมตร
2. ห้ามนำน้ำมันเบรกที่ถ่ายออกแล้วกลับมาใช้ใหม่
3. ถ้าน้ำมันเบรกหกรถสีให้รีบล้างออกทันที
4. การไล่ลมเบรกต้องแน่ใจว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเบรกของรถรุ่นนั้นดี จึงจะสามารถปฏิบัติการไล่ลมได้
5. ห้ามใช้น้ำมันเบรกแทนน้ำมันหล่อลื่น หรือจาระบีโดยเด็ดขาด
6. น้ำมันเบรกที่ทำจากน้ำมันแร่ สามารถใช้กับรถบางยี่ห้อหรือตามที่บริษัทผู้ผลิตรถกำหนดเท่านั้น
7. น้ำมันเบรกที่ผลิตจากสารเคมีชนิดเดียวกัน มีมาตรฐาน SAE หรือ DOT ระดับเดียวกัน สามารถรวมกันได้
8. จาระบีที่ใช้ทาซีลยางในระบบเบรก ต้องทำมาจากน้ำมันพืช (Vegetable Oil) เท่านั้น
9. ห้ามนำน้ำมันเบรกที่มีมาตรฐานและสารที่นำมาผลิตต่างชนิดกันผสมกัน


รวมเรื่องเบรก : การปรับเตรียมสภาพผ้าเบรกใหม่


หลังการติดตั้งผ้าเบรกใหม่ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การเบดดิ้งอิน ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1. ขับรถด้วยความเร็วประมาณ 60 กม./ ชม.
2. เหยียบเบรกเบาๆ จนถึงปานกลางจนกระทั่งรถมีความเร็วเหลือประมาณ 10 กม./ ชม.
3. ทำซ้ำขั้นตอนข้อ 1 และ 2 อย่างน้อย 10 ครั้งโดยแต่ละครั้งใช้ระยะทางประมาณ 300 เมตร
แต่ห้ามเบรกด้วยความเร็วสูงเพราะจะทำให้ผิวผ้าเบรกไหม้หรือเบรกไหม้และเบรกไม่อยู่


รวมเรื่องเบรก : ระบบเพื่อความปลอดภัยเสริม

ระบบเพื่อความปลอดภัยเสริม

ระบบกระจายแรงดันเบรค Electronic Breaking Distribution (EBD)
ระบบกระจายแรงดันเบรค EBD นี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเบรคอย่างเต็มที่ โดยการส่งระดับความแรงเบรกไปยังแต่ละล้ออย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในลักษณะดังกล่าวนี้ ช่วยให้เกิดสมดุลย์ในการเบรกทั้งล้อคู่หน้าและล้อคู่หลัง ล้อฝั่งซ้ายและล้อฝั่งขวา

ระบบช่วยเบรกฉุกเฉิน (Emergency Breaking Assistant (EBA)
เมื่อผู้ขับขี่มีการหยุดรถอย่างกะทันหัน ระบบ EBA จะช่วยเพิ่มแรงดันเบรกโดยอัตโนมัติทันที เพื่อประสิทธิภาพการเบรกสูงสุด ช่วยร่นระยะเบรก และเพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ระบบเบรก ABS (Anti-Lock Braking System) ระบบกระจายแรงเบรก (EBD) และระบบช่วยเบรกยามฉุกเฉิน (EBA) ควบคู่ไปกับช่วงล่างหน้าแบบปีกนก และหลังแบบมัลติอาร์ม ทำให้การขับขี่นุ่มนวลและปลอดภัยยิ่งขึ้น


รวมเรื่องเบรก : น้ำมันเบรค

น้ำมันเบรก

ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดแรงดันจากแม่ปั๊มตัวบนไปยังกระบอกเบรกทุกล้อเพื่อให้เกิดการเบรก มีมาตรฐานอยู่หลายระดับ แต่ที่ปัจจุบันนิยมกันคือ DOT4 โดยแต่ละระดับต่างกันที่จุดเดือด โดยห้ามเติมหรือผสมข้ามยี่ห้อหรือข้าม DOT เพราะไม่สามารถทราบได้เลยว่าอาจจะมีปฏิกิริยาทางลบต่อกันหรือไม่

มาตรฐาน DOT

จุดเดือด
(องศาเซลเซียส)
จุดเดือดชื้น
(องศาเซลเซียส)
ความเหมาะสมในการใช้งาน
DOT 3
205-230
140-150
ขับขี่ทั่ว ๆ ไป
ส่วนใหญ่ในเมือง
DOT 4
230-260
155-180
ภูมิอากาศชื้น
ฝนตกบ่อย
DOT 5
มากกว่า 260
มากกว่า 180
ขับรถเร็ว หรือเดินทางไกลบ่อย ๆ
ขับรถขึ้นลงเขา ทางลาดชันบ่อย ๆ

คุณสมบัติที่ดีของน้ำมันเบรก

จุดเดือด (Boiling Point) เมื่อมีการเบรกจะทำให้เกิดความร้อนขึ้น เนื่องจากการเสียดสีกันของผ้าเบรกกับจานเบรก ปัจจุบันน้ำมันเบรกจะมีค่าจุดเดือดสูงกว่า 200 ํC หรือมีค่าจุดเดือดสูงกว่าน้ำ 2 เท่า ส่วนใหญ่จะผลิตจากสารอีเทอร์ (Ether) และ ไกลคอล (Glycol) ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถดูดซับน้ำและไอน้ำในอากาศได้ดีเป็นพิเศษ โดยเข้าทางท่อยาง ข้อต่อ รูหายใจของกระบอกน้ำมันเบรก ซึ่งสาเหตุดังกล่าวทำให้จุดเดือดของน้ำมันเบรกลดลง และทำให้เกิดฟองอากาศหรือ วาเปอร์ล็อค (Vapour Lock) ขึ้นในระบบเบรกทำให้เกิดอาการเบรกหาย หรือเบรกต่ำ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งในการขับรถ

• ไม่ทำปฏิกิริยาต่อซีลยาง (Rubber Swelling) คือ ต้องไม่ทำอันตรายต่อซีลยาง และท่อยาง ไม่ทำให้ซีลยางแข็งตัวหรืออ่อนตัว ที่สำคัญต้องไม่ทำให้ซีลยางหดตัว หรือขยายตัวเกินขนาด ซึ่งทำให้ระบบเบรกเกิดการรั่วไหลหรือซึมได้ง่าย

• ไม่กัดกร่อนโลหะ (Corrosion) คือ ไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง ทองเหลือ หรือ อลูมิเนียม เพราะน้ำมันเบรกเมื่อดูดซับน้ำหรือไอน้ำในอากาศเข้ามาในระบบเบรก ทำให้ไอน้ำหรือน้ำมีโอกาสทำปฏิกิริยากับโลหะได้ง่าย

• ช่วยหล่อลื่น (Lubrication) คือ ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนไหว และลดแรงเสียดทานโดยเฉพาะในขณะที่มีอุณหภูมิสูง ๆ ฟิล์มน้ำมันเบรกจะแตกตัวหรือบางมาก

• สามารถปนกันได้ (Compatibility) คือ สามารถผสมกันได้ระหว่างน้ำมันเบรกที่ผลิตจากประเภทเดียวกัน และมีมาตรฐานเดียวกัน

ข้อควรปฏิบัติกับน้ำมันเบรก

ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกให้เป็นระยะ ตามปกติเรามักแนะนำให้ เปลี่ยนทุกๆ 1 ปี (หรือ 25,000 กิโลเมตร) จะช่วยป้องกันสนิมในระบบเบรก ยิ่งเป็นระบบเบรก ABS ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง และใช้อะไหล่ที่มีคุณภาพสูงเป็นการประกันความปลอดภัย และไร้กังวลกับการซ่อมที่มีราคาแพง


รวมเรื่องเบรก : การตรวจระบบเบรก

การตรวจระบบเบรก

• จุดสำคัญในการตรวจเช็คระบบเบรก

1. น้ำมันเบรก จุดสำคัญที่มักถูกมองข้าม น้ำมันเบรกมีคุณสมบัติดูดความชื้นไว้ได้ทำให้จุดเดือดของน้ำมันเบรกต่ำลง และก่อให้เกิดสนิม
2. ระบบดิสก์เบรก ล้างทำความสะอาด สลักเลื่อน หัวไล่ลม หล่อลื่นด้วยจาระบีเพื่อป้องกันสนิม และการตายตัวของสลัก ตรวจสอบลูกสูบดิสก์เบรกให้ทำงานเป็นปกติ ตรวจสภาพยางดิสเบรก และยางกันฝุ่นว่าไม่ฉีกขาดหรือเสื่อมสภาพ
3. ระบบดรัมเบรก ล้างทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ ตรวจสภาพยางกันฝุ่นที่ล้อ และกระบอกเบรก ระบบเบรกมือ สายเบรกมือควรได้รับการหล่อลื่นด้วยจาระบี เพื่อให้คล่องตัว
4. แม่ปั๊มเบรก ควรตรวจสภาพ ทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่นละออง และสนิม
• การตรวจระบบเบรก หลังฤดูฝน มีความจำเป็นมาก เนื่องจากหลังการผ่านการลุยน้ำ มักจะพอาการผิดปกติกับระบบเบรกของรถยนต์ ดังนี้
1. ระบบเบรกฝืด ไม่คล่องตัว เกิดจากความสกปรกของดินโคลนที่ติดกับก้านสลักเลื่อนดิสเบรก และภายในจานเบรก ซึ่งการล้างรถโดยปกติ ไม่สามารถทำได้ทั่วถึง
2. ชิ้นส่วนเสื่อมเนื่องจากเกิดสนิม เช่น ลูกสูบเบรก แม่ปั๊มเบรก และกระบอกเบรก
3. เบรกจม เกิดจากความชื้นเข้าไปปะปนกับน้ำมันเบรก ทำให้จุดเดือดของน้ำมันเบรกลดลงจากปกติ เมื่อเกิดความร้อนจากการเบรก น้ำมันเบรกจึงเดือดเป็นฟองได้ง่าย เมื่อฟองเข้าสู่ระบบเบรกจึงเกิดอาการเบรกจม
4. การเสื่อมสภาพของลูกยางเบรกหรือยางกันฝุ่น เกิดจากการเปลี่ยนสภาพอากาศมีผลให้น้ำมันเบรกรั่วซึม


รวมเรื่องเบรก : สาเหตุที่ทำให้เบรกดัง

สาเหตุที่ทำให้เบรกดัง

  • ฝุ่น ทำให้หน้าสัมผัสของจานเบรกและผ้าเบรกไม่สม่ำเสมอ จะมีลักษณะเสียงแหลม การแก้ไขสามารถทำได้โดยเหยียบเบรกลงลึก ๆ แต่ไม่ต้องแรง ประมาณ 3-4 ครั้ง หรือเสริมแผ่นรองกันดัง
  • ผิวจานไม่เรียบ แก้ไขโดยให้ช่างผู้ชำนาญ ทำการเจียรจาน
  • เสียงเตือน เบรกใกล้หมด มีการเสียดสีกับจานเบรก การแก้ไขคือเปลี่ยนดิสก์เบรกใหม่ เพื่อป้องกันแผ่นเหล็กรองหลังดิสก์เบรกจะเสียดสีทำลายจานเบรก
  • การสั่นสะเทือนของจานเบรก สาเหตุเนื่องจากชิ้นส่วนโลหะมีความฝืด แก้ไขโดยทาจาระบีทนความร้อน แต่ห้ามทาบนผิวสัมผัส ของจานเบรกกับผ้าเบรก
  • ดิสเบรกหลวม ทำให้หน้าสัมผัสไม่สม่ำเสมอ แก้ไขโดยทำให้ดิสก์เบรกกระชับแน่นกับเสื้อให้มากที่สุด โดยอาจใช้อุปกรณ์ช่วยยึด
  • เกิดจากเบรกบางรุ่น เนื่องจากมีการพัฒนาสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของเบรกให้สูงขึ้น ทำให้หน้าสัมผัสที่เป็นโลหะ เกิดการสั่นสะเทือนและมีคลื่นเสียงออกมา ซึ่งไม่มีอันตรายแต่อย่างใด

รวมเรื่องเบรก : สาเหตุของเบรกเสีย หรือ อายุสั้น

สาเหตุของเบรกเสีย หรือ อายุสั้น

  • หมดอายุการใช้งาน (เบรกหมด)
  • ขาดการดูแลรักษา (น้ำมันเบรก, การทำความสะอาดเบรก, กระบอกเบรก และลูกยาง)
  • อุปนิสัยของผู้ขับขี่ มีการเหยียบเบรกบ่อยเกินความจำเป็น เบรกกะทันหัน
  • ระบบเบรกขาดการหล่อลื่น
  • น้ำหนักบรรทุกมากเกินไป ทำให้เบรกถูกใช้งานอย่างหนัก
  • ผิวหน้าจานเบรกไม่เรียบ ทำให้เบรกสึกไม่เท่ากัน
  • สภาพภูมิประเทศ ที่เป็นทางลาดชัน ทำให้เบรกถูกใช้งานมากกว่าปกติ
  • สปริงเบรกหรือระบบไฮดรอลิคของแม่ปั๊มเบรกบกพร่อง ทำให้ผิวหน้าเบรกเสียดสีกับจานเบรกตลอดเวลา
  • ลูกสูบเบรกติดไม่คืนตัว ทำให้เบรกเสียดสีกับจานเบรกตลอดเวลา ทำให้เกิดความร้อนแฝงในน้ำมันเบรก และเกิดสนิมในระบบ
  • สปริงเบรกมือหรือสายเบรกมือเสื่อมสภาพ ทำให้เบรกเสียดสีกับจาน

รวมเรื่องเบรก : เกรดผ้าเบรก

เกรดผ้าเบรค

เกรดมาตรฐาน (S-Standard)

ใช้กับรถยนต์ทั่วไป ยกเว้นรถยนต์สมรรถนะสูงหรือรถสปอร์ต ส่วนผสมของเนื้อผ้าเบรกสร้างความฝืดได้ง่าย เนื้อผ้าเบรกนิ่ม สามารถลดความเร็วได้ทันที ไม่ต้องการการอุ่นผ้าเบรกให้ร้อนก่อน ทำงานได้ดีเฉพาะช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง หรือในขณะที่มีความร้อนสะสมไม่สูงนัก แต่อาจลื่นหรือไม่ได้ง่ายเมื่อต้องเบรกบ่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง หรือเบรกในช่วงความเร็วสูงอย่างรวดเร็ว สาเหตุที่รถยนต์ทั่วไปถูกกำหนดให้ใช้ผ้าเบรกเกรด S เพราะส่วนใหญ่ยังต้องมีการใช้งานในเมือง หรือมีการใช้ความเร็วไม่จัดนัก แม้จะขับเร็วบ้างหรือกระแทกเบรกแรงๆ บ้าง แต่ก็ไม่บ่อย จึงถือว่าเพียงพอในระดับหนึ่ง

เกรดกลาง (M-Medium-Metal)
รองรับการเบรกในช่วงความเร็วปานกลาง-สูงได้ดี เพิ่มความทนทานต่อความร้อนโดยตรง และความร้อนสะสมในการเบรกสูงขึ้นกว่าผ้าเบรกเกรด S แต่ยังคงประสิทธิภาพการใช้งานช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลางได้ดี เพราะเนื้อผ้าเบรกยังไม่แข็งเกินไป ไม่ต้องอุ่นผ้าเบรกให้ร้อนก่อน ส่วนมากจะมีส่วนผสมของโลหะอ่อน หรือวัสดุที่สามารถสร้างแรงเสียดทานเมื่อมีความร้องสูงได้ดี มีความแข็งปานกลาง เนื้อของผ้าเบรกอาจเป็นสีเงาจากผงโลหะที่ผสมอยู่รถยนต์ทั่วไป
ถ้าผู้ขับเท้าขวาหนัก ก็สามารถเลือกใช้ผ้าเบรกเกรด M แทนเกรด S เพราะยังสามารถรองรับการใช้งานได้ทุกรูปแบบและทุกช่วงความเร็ว โดยอาจมีจุดด้อยด้านประสิทธิภาพการเบรกในช่วงที่ผ้าเบรกยังเย็นอยู่ และราคายังแพงกว่า

เกรดกึ่งแข่ง (R-Racing)
เป็นผ้าเบรกเกรดพิเศษ ซึ่งถูกผลิตเพื่อรองรับรถยนต์สมรรถนะสูง-รถแข่ง เหมาะกับการใช้ความเร็วสูง หรือมีความร้อนสะสมที่ผ้าเบรกจากการเบรกถี่ ๆ และรุนแรง เนื้อของผ้าเบรกเกรดนี้มักจะมีการผสมของผงเนื้อโลหะไว้มาก การใช้งานในเมืองด้วยความเร็วต่ำจึงต้องมีการอุ่นผ้าเบรกให้ร้อนก่อน และเบรกหยุดได้ระยะทางยาวกว่าผ้าเบรกเนื้อนิ่ม ส่วนในช่วงความเร็วสูง ร้อนแค่ไหนก็ลื่นและไหม้ยาก ผ้าเบรกเกรดนี้ไม่ค่อยเหมาะกับรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ยกเว้นรถสปอร์ต หรือรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูง


รวมเรื่องเบรก : ชนิดของผ้าเบรค

ชนิดของผ้าเบรค

ผ้าเบรกเป็นอุปกรณ์สร้างแรงเสียดทาน โดยการกดเข้ากับดิสก์ หรือ ดรัมเบรกสามารถแบ่งแยกออกได้เป็น 2 ชนิดคือ

1. แบบแร่ใยหินแอสเบสตอส เมื่อเบรกจะเป็นผงสีขาว สร้างมลพิษ และทำงานได้ไม่ดีในความร้อนสูงหรือเปียก เงียบ (สมัยก่อน)
2. แบบแกรไฟต์และคาร์บอน เมื่อเบรกจะมีผงสีดำทำงานได้ดีในความร้อนสูงและเปียก

คุณสมบัติของผ้าเบรกที่ผลิตจากสารแร่ใยหิน
ข้อดี
• เป็นผ้าเบรกที่มีค่าแรงเสียดทานสูง
• เป็นผ้าเบรกที่มีเนื้อนุ่ม จึงมีโอกาสเกิดเสียงต่ำ
• หาซื้อได้ง่ายและมีราคาถูก
ข้อเสีย
• ทนความร้อนได้ต่ำ อาจเกิดอาการเฟด หรือ เบรกลื่นเมื่อใช้งานหนัก
• เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและร่างกายมนุษย์และก่อให้เกิดมะเร็งในปอด
• สึกหรอไวเพราะผ้าเบรกมีเนื้อนุ่ม
• ระยะเบรกแปรผันตามอุณหภูมิ

คุณสมบัติของผ้าเบรกที่ไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน
ข้อดี
• มีความสามารถทนความร้อนได้สูงกว่าแร่ใยหิน
• ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
ข้อเสีย
• ต้นทุนการผลิตสูง


รวมเรื่องเบรก : ระบบช่วยผ่อนแรงการเหยียบเบรก

ระบบช่วยผ่อนแรงการเหยียบเบรก

อุปกรณ์ช่วยผ่อนแรงในการเหยียบเบรก คือ หม้อลมเบรก (Brake Booster) ซึ่งทำงานด้วยสุญญากาศ (Vacuum) ภายในหม้อลมเบรกจะมีแผ่นไดอะเฟรมอยู่ และที่ตัวหม้อลมเบรกนี้เอง จะมีท่อต่อออกไป เชื่อมต่อกับท่อไอดี เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ก็จะดูดเอาอากาศที่ท่อไอดีเข้าไปเผาไหม้ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หม้อลมเบรก ถูกดูดอากาศไปใช้งานด้วย ความดันอากาศในหม้อลมเบรก จึงต่ำลงเข้าใกล้ระดับสุญญากาศ เมื่อผู้ขับรถต้องการชะลอความเร็ว หรือหยุดรถ ก็จะเหยียบลงบนแป้นเบรก แกนเหล็กที่ติดตั้งอยู่บนแกนแป้นเบรก ก็จะเคลื่อนที่ไปดันให้วาล์วอากาศของหม้อลมเบรกเปิดออก ทำให้อากาศภายนอกไหลเข้าสู่หม้อลมเบรกอย่างเร็ว ก็จะไปดันเอาแผ่นไดอะเฟรมที่ยึดติดกับแกนกดแม่ปั๊มเบรก ให้เคลื่อนที่ไปดันลูกสูบในแม่ปั๊มเบรก พร้อมๆ กับแรงเหยียบเบรกของผู้ขับรถด้วย

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ผู้ขับรู้สึกว่าเหยียบเบรกด้วยความนุ่มนวล ซึ่งเมื่อผู้ขับคืนเท้าออกจากแป้นเบรกอีกครั้ง แป้นเบรกก็จะกลับสู่ตำแหน่งเดิม พร้อมด้วยวาล์วอากาศของหม้อลมเบรกก็ปิดลง อากาศที่หม้อลมเบรกก็ยังคงถูกดูดออกไปใช้งานอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าเครื่องยนต์จะดับ

ในกรณีที่เครื่องยนต์ดับ ภายในหม้อลมเบรก ก็ยังคงมีสภาพเป็นสุญญากาศ อยู่ดังนั้น หลังจากที่เครื่องยนต์ไม่ทำงาน เรายังคงเหยียบเบรกได้อย่างนุ่มนวล อีกเพียงแค่ 2-3 ครั้ง เพราะอากาศด้านนอกหม้อลมเบรก ก็จะเข้าไปอยู่ในหม้อลมเบรก ในขณะที่ไม่มีการดูดเอาอากาศภายในหม้อลมเบรกไปใช้งาน (เพราะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน ไม่มีการดูดไอดีไปใช้งาน) เมื่ออากาศเข้าไปบรรจุอยู่ในหม้อลมเบรกจนเต็ม ก็ไม่มีแรงจากหม้อลมเบรก มาช่วยดันลูกสูบในแม่ปั๊มเบรก ทำให้ผู้ขับจะต้องออกแรงเหยียบเบรกมากขึ้นไปด้วย



รวมเรื่องเบรก : ชนิดของเบรค

ชนิดของเบรค

ดรัมเบรค (Drum Brake)
ในชุดเบรคแบบดรัม ประกอบด้วยตัวดรัม (Drum) เป็นโลหะวงกลมยึดติดกับดุมล้อ หมุนไปพร้อมล้อ และชุดฝักเบรค ซึ่งประกอบด้วยผ้าเบรค กลไกปรับตั้งเบรค สปริงดึงกลับ และลูกสูบปั้มเบรค ซึ่งสายน้ำมันเบรค ก็จะมาเชื่อมต่อกับตัวลูกสูบนี่แหละ ในการดันผ้าเบรคให้ไปเสียดทานกับดรัม เพื่อให้เกิดความฝืด

ดรัมเบรค
ป็นอุปกรณ์เบรคมาตรฐาน สำหรับรถยนต์ รุ่นเก่าหน่อย ต่อมาเมื่อมีการใช้ดิสก์เบรคกันมากขึ้น ก็จะเห็น ระบบดิสก์เบรคสำหรับล้อคู่หน้า และดรัมเบรคสำหรับล้อคู่หลัง และในปัจจุบัน ก็สามารถเห็นรถยนต์ที่ ติดตั้งดิสก์เบรคมาทั้ง 4 ล้อ แต่อย่างไรก็ตาม การจะใช้ระบบเบรคแบบดิสก์ หรือดรัมนั้น ขึ้นอยู่กับการ ออกแบบ ระบบของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์แต่ละรุ่นอยู่แล้ว เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดี


ดิสก์เบรค (Disc Brake)

ชุดดิสก์เบรค ประกอบด้วย แผ่นจานดิสก์ ติดตั้งลงบนแกนเพลาล้อ เมื่อรถเคลื่อนที่ แผ่นจานดิสก์ จะหมุนไปพร้อมล้อ จากนั้นจะมีอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า คาลิปเปอร์ (Caliper) ที่เรียกกันทั่วไปว่า "ก้ามปูเบรค" สำหรับตัวคาลิปเปอร์ จะติดตั้งโดย ครอบลงไปบนจานดิสก์ (ไม่หมุนไปพร้อมล้อ) ภายในคาลิปเปอร์ มีการติดตั้งผ้าเบรคประกอบอยู่ทางด้านซ้าย และขวาของจานดิสก์ และจะมีลูกปั้มน้ำมันเบรคติดตั้งอยู่ด้วย ซึ่งท่อน้ำมันเบรค ก็จะติดตั้งเชื่อมต่อกับลูกปั้มเบรคนี้ เมื่อใดที่มีการเหยียบเบรค ลูกปั้มเบรค ก็จะดันให้ผ้าเบรค เลื่อนเข้าไปเสียดทาน กับเแผ่นจานดิสก์ เพื่อให้เกิดความฝืด



รวมเรื่องเบรก : ระบบเบรค

ระบบเบรค

ผ้าเบรกเป็นอุปกรณ์สร้างแรงเสียดทาน โดยการกดเข้ากับดิสก์หรือดรัมเบรกมีพื้นฐาน คือ เนื้อวัสดุของตัวดิสก์หรือดรัมเบรกต้องแข็งเพื่อไม่ให้สึกหรอเร็ว แต่ต้องมีผิวไม่ลื่น ส่วนผ้าเบรกต้องมีเนื้อนิ่มกว่าตัวดิสก์หรือดรัม เพื่อให้มีแรงเสียดทานสูงหรือสึกหรอมากกว่า เพราะเปลี่ยนได้ง่าย โดยมีการผลิตขึ้นจากวัสดุผสมหลายอย่าง และอาจผสมกับโลหะเนื้อนิ่ม เพื่อให้เบรกในช่วงความเร็วสูงได้ดี

ในอดีตใช้แร่ใยหินแอสเบสตอสเป็นวัสดุหลักของผ้าเบรก เมื่อผ้าเบรกสึกจะเป็นผงสีขาว ไม่เกาะกระทะล้อ แต่สร้างมลพิษในอากาศ ทำลายระบบหายใจของสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันจึงหันมาใช้แกรไฟต์-คาร์บอนแทน เมื่อผ้าเบรกสึกจะมีผงสีดำออกมาเกาะเป็นคราบ ดูสกปรกแต่ไม่เป็นอันตราย

ผ้าเบรกมีหลายระดับประสิทธิภาพและความแข็ง ด้วยหลักการง่าย ๆ คือ ยิ่งนิ่มยิ่งสร้างแรงเสียดทานได้ง่าย แต่ไม่ทนความร้อน อาจลื่นหรือไหม้ในการเบรกบ่อย ๆ หรือเบรกในช่วงความเร็วสูง และยิ่งแข็งยิ่งทนความร้อน เบรกดีในช่วงความเร็วสูง แต่ต้องการการอุ่นให้ร้อนก่อน หรือเบรกช่วงความเร็วต่ำไม่ค่อยอยู่ จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะการขับและสมรรถนะของรถยนต์


ภาพส่วนประกอบของเบรค




วิธีแก้เมื่อเบรคดัง

เมื่อเบรคดัง ควรทำอย่างไร

เบรกได้กลายเป็นชิ้นส่วนของรถยนต์ที่ต้องรับภาระหนัก นอกเหนือไปจากความรับผิดชอบสำคัญความปลอดภัยแล้ว ยังต้องแบกรับภาระในการตอบสนองความรู้สึุกของผู้ใช้รถที่แตกต่าง ตามความชอบและไม่อาจแสดงออกมาเป็นตัวเลขได้ โดยเฉพาะปัญหา ในเรื่องเบรกดัง

เมื่อเบรคดัง ควรปฏิบัติเบื้องต้น ดังนี้

ตรวจสอบผ้าเบรก

  • ผิวหน้าของเบรกเป็นม้นเงาหรือไม่ ผิวหน้าผ้าเบรกเป็นเหมือนกระจก ความร้อนทำให้ผิวหน้าผ้าเบรกแข็งตัว จึงไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพที่แท้จริงของผ้าเบรกได้
  • มีรอยลักษณะเหมือนจานแผ่นเสียงหรือไม่ รอยที่เกิดจากการเสียดสีกับจากเบรก (rotor) เป็นสาเหตุให้เกิดอาการสั่นเล็กน้อยได้
  • มีการสึกที่ไม่เสมอกันหรือไม่ อาจมีีความผิดปกติที่คลิปผ้าเบรก (pad clip) หรือ ลูกสูบ (piston) มีการฉุกกระชาก

ตรวจสอบสภาพของซิมและจารบี

  • ซิมบิดผิดรูป ส่วนที่เคลือบและยางเสื่อมสภาพ
  • ส่วนที่เป็นยาง มักจะแข็งตัวและหลุดออก เมื่อถูกความร้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งยางในบริเวณที่ถูกลูกสูบกดมักจะหลุด หรือบิดผิดรูปได้
  • นอกจากนี้ หากบริเวณที่เป็นเขี้ยวซึ่งอยู่ที่ผ้าเบรกผิดรูปจะทำให้ซิมไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมด้านหลังผ้าเบรกทาจาระบีไว้อย่างพอเหมาะหรือไม่ จาระบีจะหลุดง่ายเมือโดนความร้อน เศษโคลนห หรือน้ำ

ตรวจสอบผิวหน้าของจานเบรก

ผิวหน้าเปลี่ยนสีออกเป็นสีดำ และเป็นมัันเงาหรือไม่ ความร้อนทำให้ผิวหน้าเกิดรอยไหม้ นอกจากนี้ผงสร้างแรงเสียดทานในผ้าเบรก อาจติดอยู่ที่ผิวจานเบรกได้ มีรอยลักษณะเหมื่อนจานแผ่นเสียงที่ผิวหน้าหรือไม่ เป็นรอยที่เกิดจากการเสียดสีกับผ้าเบรก สีที่เปลี่ยนไปและรอยที่เกิดขึ้นจะทำให้ระบบการสั่นของผ้าเบรก ขณะหยุดรถ เปลี่ยนไปก่อให้เกิดเสียงเบรกได้

ตรวจสอบก้ามปู (Disc Caliper)

ต้วก้ามปูบิดผิดรูปหรือไม่ เป็นเรื่องที่เกิิดไม่บ่อยนัก แต่หากถูกกระทบแรงมากๆ ในระยะเวลาหนึ่ง หรือรถที่เกิดอุบัติเหตุตัวก้ามปู จะมีการผิดรูปเล็กน้อย ชิ้นส่วนที่เป็นยางเสื่อมสภาพหรือไม่ เช่น Piston bush, Piston seal, slide pin bush หากชิ้นส่วนที่เป็นยางผิดปกติ จะทำให้ลูกสูบและส่วนที่ Slide ทำงานไม่ปกติ มีอาการกระชาก เป็นต้น คลิปที่ยึดผ้าเบรกด้วยแรงด้วยแรงที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอาการเอียงหรือสั่นเล็กน้อยได้

เสีียงดัง..เอี็๊ยดๆๆๆ เสียงเสียดสี...หรือการขูดชีดของโลหะเมื่อมีการเสียดสีของวัตถุสองชิ้น ย่อมทำให้เกิดความร้อนรวมทั้่่งเกิดเสียงดัง

ผู้ใช้รถมักจะประสบปัญหาเรื่องเสียงดัง เสียงเสียดสี คล้ายการขูดขึดของโลหะ อาการเบรกดัง มักเกิดจากปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัยร่วมกัน เสียงเสียดสีของโลหะ อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้

อาการสาเหตุวิธีแก้ไข
เสียงดังขณะเบรก ผ้าเบรกมีส่วนผสมของโลหะมากเกินไปเปลี่ยนใช้ผ้าเบรกที่มีส่วนผสมโลหะต่ำ
เสียงดังความถี่สูงเช่น อี๊ดๆ ขณะเบรกผ้าเบรกสึกหรอมาก (ความหนาน้อยกว่า 4 มม.)

เปลี่ยนผ้าเบรกทันที

อาการสาเหตุวิธีแก้ไข
เสียงดังความถี่สูงสลับกับเสียงความถี่ตำ่ๆ จานเบรคเสียดสีกับคาลิปเปอร์

ตรวจดูการยึดติดตั้งของคาลิปเปอร์

ความแน่นของสลักการปรับให้ทาจาระบีปรับแบริ่งล้อใหม่ให้เหมาะสม

เสียงดังความถี่สูงเสียงเสียดสีความถี่สูงแบริ่งล้มหลวมสลักยึดคาลิปเปอร์ยาวเกินไป

ปรับเปลี่ยนสลัดยึดให้มีความยาวพอดีและเหมาะสม

ที่มา daiwaasia.co.th


บริษัท สำโรงผ้าเบรค จำกัด



สำโรงผ้าเบรค

ABS : ความปลอดภัยที่ต้องเรียนรู้

รถยนต์ทุกคันล้วนมีระบบเบรกพื้นฐานแต่การเบรกกระทันหันอย่างรุนแรง หรือบนเส้นทางลื่นยังเสี่ยงต่อการเกิดอาการล้อล็อก ABS จึงถูกเสริมเข้ามา เพื่อลดความเสี่ยงนั้น

ผู้ผลิตรถยนต์ล้วนมีการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเบรกพื้นฐานอยู่ตลอด เพื่อการหยุดการขับเคลื่อนจากเครื่องยนต์สมรรถนะสูงที่ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนา เพิ่มแรงม้าอย่างสมบูรณ์ที่สุด เช่น ดิสก์เบรกที่ระบายความร้อนได้ดี ผ้าเบรกเนื้อเยี่ยม และอีกสารพัดแนวทาง

ไม่ว่าจะมีการพัฒนาระบบเบรกพื้นฐานให้เหนือชั้นขึ้นเพียงใด ก็ยังมีอีกปัญหาหนึ่ง ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ คือ เบรกแล้วเกิดอาการล้อล็อก-หยุดหมุน ในขณะที่ตัวรถยนต์ ยังพยายามเคลื่อนที่อยู่ เช่น เมื่อมีการเบรกกระทันหันอย่างรวดเร็วรุนแรง หรือการเบรก บนเส้นทางลื่น เมื่อล้อล็อกก็จะส่งผลให้พวงมาลัยไม่สามารถควบคุมทิศทาง ได้ตามปกติหรือรถยนต์ปัดเป๋-หมุนคว้างได้

แม้ผู้ขับมือดี จะมีแนวทางแก้ไขด้วยตัวเองโดยการตั้งสติกดเบรกหนักแต่พอประมาณ แล้วปล่อยออกมาเพื่อย้ำซ้ำ ๆ ถี่ ๆ ไม่กดแช่ เพื่อไม่ให้ล้อล็อก แต่ในการขับจริงทำได้ยาก เพราะอาจขาดการตั้งสติ คิดไม่ทัน หรือย้ำได้แต่ไม่ถี่พอ

ABS-ANTILOCK BRAKING SYSTEM

เป็นแค่ระบบที่ถูกพัฒนาเสริมเข้ามา ไม่ใช่เมื่อมีเอบีเอสแล้วไม่ต้องมีระบบเบรกพื้นฐาน จะเป็นดิสก์เบรก 4 ล้อ หน้าดิสก์-หลังดรัม หรือดรัม 4 ล้อ ก็ยังต้องมีอยู่
เอบีเอส ทำหน้าที่คงและคลายแรงดันน้ำมันเบรกสลับกันถี่ ๆ เพื่อป้องกันล้อล็อก เมื่อต้องเบรกในสถานการณ์แปลก ๆ ข้างต้น เหนือกว่าการควบคุมของมนุษย์ คือ แม่นยำและมีความถี่มากกว่า มีการจับ-ปล่อยผ้าเบรกสลับกันหลายครั้งต่อวินาที โดยผู้ขับมีหน้าที่ กดแป้นเบรกหนัก ๆ ไว้เท่านั้น

สาเหตุที่ต้องป้องกันล้อล็อก

เพราะต้องการให้พวงมาลัยยังสามารถบังคับทิศทางพร้อมกับการเบรกอย่างกระทันหัน ไม่ใช่เบรกแล้วทื่อไปตามของแรงส่งในการเคลื่อนที่อย่างไร้การควบคุมทิศทาง และป้องกันไม่ให้รถยนต์ปัดเป๋-หมุนคว้าง

ลองเปรียบเทียบถึงรถยนต์ที่แล่นบนพื้นน้ำแข็งที่ลื่นมาก และมีการกดเบรกอย่างเร็ว-แรง ล้อจะหยุดหมุน-ล็อก ในขณะที่ตัวรถยนต์ยังลื่นไถลต่อ ตามแรงในการเคลื่อนที่ หรือแรงเหวี่ยง โดยพวงมาลัยแทบจะไร้ประโยชน์เพราะถึงจะหักเลี้ยวไปทางซ้าย แต่ถ้ารถยนต์มีแรงส่งไถลไปทางขวา ก็จะไม่สามารถควบคุมทิศทางให้ไปทางซ้าย ตามที่ต้องการได้

การเบรกในสถานการณ์เช่นนั้น ต้องลดความเร็วลงในขณะที่ยังสามารถควบคุมทิศทาง ด้วยพวงมาลัยได้ มิใช่ปล่อยให้ไถลไปตามอิสระ ส่วนในการเบรกตามปกติ ที่ไม่กระทันหัน หรือเส้นทางไม่ลื่น เอบีเอสก็ไม่ได้มีโอกาสทำงานควบคุมแรงดันน้ำมันเบรก ยังใช้ประสิทธิภาพจริงของระบบเบรกพื้นฐานเป็นหลักเท่านั้น

สถานการณ์ใดบ้าง ที่ต้องการเอบีเอส

ในประเทศที่มีหิมะตก หรือพื้นเส้นทางเคลือบไปด้วยน้ำแข็ง เอบีเอสมีโอกาสได้ทำงานบ่อย แต่ในประเทศแถบร้อนทั่วไป เอบีเอสก็มีโอกาสได้ทำงานพอสมควร เช่น การเบรก บนถนนเรียบ แต่เปียกไปด้วยน้ำ ทางโค้งฝุ่นทราย รวมถึงถนนเรียบแห้งสะอาด แต่มีการเบรกกระทันหันอย่างรวดเร็วรุนแรง โดยไม่ค่อยมีใครมองถึงประโยชน์ของเอบีเอส ในการเบรกขณะที่แต่ละล้อสัมผัสผิวเส้นทางที่มีความลื่อนต่างกัน เช่น การหลบลงไหล่ทาง แค่ 2 ล้อ ซึ่งมี 2 ล้อด้านขวาอยู่บนถนนฝืด แต่อีก 2 ล้อด้านซ้ายอยู่บนไหล่ทางผิวกรวดทราย ถ้าเบรกแรง ๆ แล้วรถยนต์อาจหมุนคว้างได้

หากนึกภาพการเบรกเมื่อแต่ละล้อสัมผัสผิวเส้นทางที่ลื่นต่างกันไม่ออกมีตัวอย่างชัดเจน จาการทดสอบรถยนต์ในต่างประเทศ ในสนามทดสอบมีการปูกระเบื้องผิวลื่นมาก เป็นแถบยาว แทรกไว้บนด้านหนึ่งของผิวคอนกรีตหรือยางมะตอยที่มีความฝืดตามปกติ แล้วมีการฉีดพรมน้ำตลอด เริ่มจากการขับรถยนต์ที่ไม่มีเอบีเอส ให้ 2 ล้อในซีกซ้ายแล่นบน ผิวถนนปกติ และอีก 2 ล้อซีกขวาแล่นบนกระเบื้องเปียก เมื่อกดเบรกอย่างแรง รถยนต์ จะหมุนคว้างในทันที เพราะ 2 ล้อที่อยู่บนกระเบื้องเปียกจะหยุดหมุนล็อกอย่างรวดเร็ว แล้วเมื่อทดสอบด้วรถยนต์ที่มีเอบีเอส ก็สามารถเบรกได้ในขณะที่รถยนต์ยังตรงเส้นทางอยู่ ส่วนบนเส้นทางวิบาก เช่น ลูกรัง ฝุ่นทราย เอบีเอสช่วยได้ดีเมื่อต้องเบรกแรง ๆ หรือกระทันหัน

เปรียบเทียบลักษณะการทำงานของเอบีเอส และระยะในการเบรกให้เข้าใจง่าย ๆ คือ

คนใส่รองเท้าพื้นยางเรียบ ถ้าวิ่งเร็ว ๆ บนคอนกรีตแล้วมี 2 วิธีในการหยุด คือ

1. เสมือนไม่มีเอบีเอส หยุดซอยเท้าในทันทีพื้นรองเท้าก็จะครูดไปกับคอนกรีตไม่ไกล แล้วหยุดสนิท กับ

2. กระทำเสมือนมีเอบีเอส ค่อย ๆ ลดความเร็วในการซอยเท้า ก่อนที่จะหยุดสนิท แม้พื้นรองเท้าจะไม่ครูดไปกับคอนกรีตแต่ก็จะไม่ได้ระยะหยุดสั้นกว่าการหยุดแบบ หยุดซอยเท้าในทันทีแล้วปล่อยให้ครูด หากวิ่งบนลานน้ำแข็ง แล้วใช้ 2 วิธีในการหยุด เหมือนเดิม คือ

1. เสมือนไม่มีเอบีเอส หยุดซอยเท้าในทันที พื้นรองเท้าก็จะครูดไปกับผิวน้ำแข็ง มีระยะทางไกล กว่าจะหยุดสนิท ทั้งยังลื่นไถลปัดเป๋ไร้ทิศทาง กับ

2. การทำเสมือนมีเอบีเอส ค่อย ๆ ลดความเร็วในการซอยเท้าลงช้า ๆ ก่อนที่จะหยุดสนิท พื้นรองเท้าจะไม่ครูดไปกับผิวน้ำแข็ง ไม่ลื่นไถลและไม่ปัดเป๋ แล้วก็จะได้ระยะหยุดสั้นกว่าการหยุดแบบหยุดซอยเท้าในทันที

ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS

"ปัจจุบันระบบเบรก ABS กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของรถไปเสียแล้วหรือ ?"

เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์จึงได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัยหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบเบรก ABS, ถุงลมนิรภัย, คานเสริมรับแรงกระแทก ซึ่งในครั้งนี้ จะกล่าวถึงระบบเบรก ABS เทคโนโลยีที่จะช่วยให้รถหยุดได้อย่างมั่นใจในสภาวะคับขัน

ระบบเบรก ABS ย่อมาจาก Anti-Lock Brake System หรือระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ที่เรียกเช่นนี้เพราะว่า สามารถป้องกันการ ล็อกตัวของล้อในขณะเบรกได้ แล้วการที่ล้อจะล็อกหรือไม่นั้น เกิดขึ้นและมีผลอย่างไรกับการขับขี่

อธิบายง่าย ๆ ว่า ในเวลาที่รถเคลื่อนที่ จะเกิดแรงที่ส่งให้รถหรือสิ่งใด ๆ ที่อยู่ในรถ เคลื่อนที่ไปข้างหน้า เราเรียกเจ้าแรงนี้ว่า "แรงเฉื่อย" ปริมาณของแรงเฉื่อยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักรวมและความเร็วของรถในขณะนั้น ถ้าในระหว่างที่ขับมาดี ๆ มีเหตุให้ต้องหยุดรถกะทันหัน วิธีเดียวที่จะทำได้ก็คือ หาแรงมาต้านในปริมาณที่เท่ากับแรงเฉื่อยที่ว่า รถจึงจะหยุดได้ แรงต้านที่ปลอดภัยที่สุดก็คือ แรงที่ได้มาจากการเบรก วิศวกรออกแบบระบบเบรก โดยใช้ประโยชน์จากความฝืด เวลาเราเหยียบเบรก แรงจากการเหยียบจะถูกเพิ่มปริมาณขึ้นโดยระบบคานงัดของขาแป้นเบรก, หม้อสุญญากาศเพิ่มแรงบวก, และระบบไฮ ดรอลิก พอไปถึงล้อ แรงที่ได้ก็จะสูงกว่าแรงเฉื่อย แต่แรงดังกล่าวจะไม่เกิดผลใด ๆ เลย ถ้าระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรกและระหว่างยางกับพื้นถนน ไม่มีความฝืด ตรงนี้แหละที่เกี่ยวข้องกับการล็อกตัวของล้อ

ความฝืดระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรกคงไม่มีปัญหาอะไร เพราะอยู่ในขอบเขตที่สามารถออกแบบให้มีความฝืดตามที่ต้องการได้ (ถ้าใช้ผ้าเบรกราคาถูกจะว่าไม่มีปัญหาก็ไม่ถูกนัก เพราะที่แน่ ๆ คือ ค่าสัมประสิทธิ์ความฝืด ย่อมไม่เท่ากับผ้าเบรกของแท้อย่างที่วิศวกรออกแบบเอาไว้) ที่จะมีปัญหาก็คือ ความฝืดระหว่างยางกับพื้นถนน เพราะถ้าความฝืดดังกล่าว มีค่าน้อยกว่า ความฝืดระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรกและน้อยกว่าแรงเฉื่อย เช่น บนพื้นถนนที่ลื่น, ถนนลูกรัง, ถนนที่มีน้ำขังหรืออย่างในประเทศที่มีอากาศหนาวมาก ๆ มีแผ่นน้ำแข็งเกาะอยู่ ล้อก็จะถูกล็อกตาย แล้วลื่นไถลไปตามทิศทางของแรงเฉื่อยที่เกิดขึ้น ทีนี้ไม่ว่าจะหมุนพวงมาลัยไปทางไหนก็ตาม รถก็จะยังคงไถล ไปตามทิศทางของแรงเฉื่อย อยู่นั่นเอง นี่แหละครับ อันตรายของการที่ล้อล็อกตายในขณะเบรก
คราวหน้า เอาไว้มาว่ากันต่อถึงการทำงาน และข้อควรระวังในการใช้เบรก ABS
ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS เกิดมาจากแนวคิดในการแก้ปัญหาการลื่นไถลในขณะเบรก เนื่องจากความฝืดของระบบเบรกมีมากกว่าความฝืดของยางกับพื้นรถ เราทราบกันดีว่า ในขณะเบรกเราไม่ต้องการให้ล้อล็อกตายเพราะจะทำให้ควบคุมรถไม่ได้และการที่ล้อล็อกตายก็เพราะมีแรงจากการเบรกกดอยู่ การทำให้ไม่ให้ล้อล็อก ต้องปลดแรงจากการเบรกออก แต่พอปลดแรงเบรกออก รถก็ไม่หยุด เป็นเงื่อนไขกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น

วิศวกรจึงแก้ปัญหานี้โดยการออกแบบให้ระบบเบรกทำงานแบบจับ-ปล่อยในจังหวะที่เร็วประมาณ 50 ครั้ง/วินาที เพราะพบว่าถ้าทำได้เร็วมาก ๆ จะทำให้ได้ผลอย่างที่ต้องการทั้งสองทางคือ การที่ล้อไม่ล็อกทำให้ยังสามารถที่จะควบคุมทิศทางของรถได้ และในขณะเดียวกันก็สามารถทำให้รถหยุดได้ด้วย แต่การที่จะให้ระบบเบรกทำงานอย่างนั้นได้ต้องมีอุปกรณ์ที่ค่อนข้างซับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ต้องมีตัวตรวจจับการหมุนของล้อ, มีหน่วยประมวลผล เป็นต้น เพื่อรับทราบว่าความเร็วในการหมุนของล้อแต่ละข้างเริ่มจะหยุดนิ่งหรือแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไรก่อนจะสั่งการให้ระบบเบรกทำงาน รวมทั้งมีชุดปั๊มและวาล์วที่สามารถทำงานด้วยความถี่หลายสิบครั้งต่อวินาที

ลักษณะการทำงานแบบจับ ๆ ปล่อย ๆ นี้เองที่ผู้ขับขี่บางท่านสงสัยว่าระบบเบรกในรถของตนจะผิดปกติหรือไม่ เพราะเมื่อเหยียบเบรกแล้วมีแรงต้านกระตุกถี่ ๆ ที่แป้นเบรก ซึ่งในกรณีนี้ถ้าเป็นที่มีระบบ ABS ไม่มีอะไรผิดปกติแต่กลับแสดงว่าระบบทำงานได้ดี แต่ถ้าเป็นรถที่ไม่มีระบบ ABS แล้วมีอาการคล้าย ๆ อย่างนั้น คงต้องนำรถเข้าศูนย์ตรวจเช็กกันเสียทีแล้ว เพราะจานเบรกอาจจะคดหรือมีชิ้นส่วนอะไรหลุดหลวมก็ได้

ที่กล่าวมานี้คงพอจะทำให้ท่านได้รู้จักกับระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS กันมากขึ้น ก่อนที่จะลองไปตรวจสอบระบบเบรกของรถตนเอง มีข้อควรระวังที่อยากจะฝากไว้ว่า เบรก ABS ไม่ได้ทำให้รถหยุดได้ทันใจมากขึ้น กลับจะทำให้ระยะเบรกยาวขึ้นด้วยซ้ำ เพียงแต่เบรก ABS ช่วยให้สามารถควบคุมการบังคับเลี้ยวของรถได้ในขณะใช้เบรกบนพื้นผิวถนนที่ลื่นเท่านั้น

ขอบคุณ บทความจาก http://www.tiida-club.net


ความรู้เรื่องผ้าเบรค

เห็นว่ารถของหลายๆท่านถึงวาระที่จะต้องเปลี่ยนผ้าเบรคกันแล้ว และหลายท่านก็ลังเล ของศูนย์หรือเปลี่ยนข้างนอกดีกว่า ลองอ่านเอาไว้เป็นความรู้และช่วยตัดสินใจดูนะครับ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผ้าดิสก์เบรก

ชนิดของผ้าดิสก์เบรก
ผ้าดิสก์เบรกที่มีจำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาดขณะนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1. กลุ่มผ้าดิสก์เบรกราคาถูกทั่วไปที่มีส่วนผสมของสาร Asbestos หรือที่เรียกกันว่า "ผ้าใบ" จะมีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ คุณสมบัติในการเบรก จะใช้ได้ในความเร็วต่ำๆ หรือระยะต้นๆ แต่เมื่อความเร็วสูงขึ้น ประสิทธิภาพในการเบรกจะลดลงอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญ อายุการใช้งานจะสั้น ผ้าดิสก์เบรกหมดเร็ว นอกจากนั้นแร่ใยหินมีผลต่อสุขภาพ ในปัจจุบันจึงมีการใช้น้อยลง

2. กลุ่มที่ไม่มีส่วนผสมของสาร Asbestor หรือกลุ่ม Non-organic แบ่งออกเป็น 2ชนิด คือ
2.1 ชนิดที่มีส่วนผสมส่วนใหญ่เป็นโลหะ (Semi-metallic) จะเป็นผ้าดิสก์เบรกของผู้ผลิตจากยุโรป หรืออเมริกา เช่น Bendix Mintex
2.2 ชนิดที่มีส่วนผสมของสารอนินทรีย์อื่นๆ จะเป็นผ้าดิสก์เบรกของผู้ผลิตจากญี่ปุ่นเช่น Akebono
ทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นผ้าดิสก์เบรกที่เกรดใกล้เคียงกัน

คุณสมบัติที่สำคัญของผ้าดิสก์เบรก

สัมประสิทธิ์ของความฝืด
ผ้าดิสก์เบรกที่มีสัมประสิทธิ์ของความฝืดสูง จะมีผลต่อการเบรกได้ดีกว่า เป็นผลให้สามารถสร้างกลไกเบรกให้เล็กลงได้ และต้องการแรงเหยียบเบรกน้อยลง อย่างไรก็ตาม เบรกที่มีสัมประสิทธิ์สูงทำให้ยากต่อการควบคุม ดังนั้นจำเป็นต้องรักษาศูนย์ล้อให้ถูกต้องให้สอดคล้องกันด้วย

ความทนทานต่อการสึกหรอ
การสึกหรอของผ้าดิสก์เบรกเปลี่ยนแปลงไปตามความเร็วของรถยนต์ และอุณหภูมิเบรก อย่างไรก็ตาม ผ้าดิสก์เบรกที่ทนทานต่อการสึกหรอได้ดี จะเป็นเหตุให้จานเบรกเกิดการสึกหรอ หรือเกิดรอยมากเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของรถไม่ต้องการ

การเบรกไม่อยู่ และการชดเชย
เมื่ออุณหภูมิของผ้าเบรกเพิ่มขึ้น เนื่องจากความฝืดซึ่งทำให้เกิดความร้อน สัมประสิทธิ์ทางความฝืดจะลดลง และผลในการเบรกลดลง เป็นเหตุให้การเบรกไม่มีความแน่นอน ปรากฎการณ์นี้เป็นที่ทราบกันคือการเบรกไม่อยู่ เมื่อเบรกร้อนซึ่งเป็นสาเหตุให้สัมประสิทธิ์ลดลง ผ้าเบรกจะต้องสามารถเย็นลงไปสู่สัมประสิทธิ์เดิมได้ เรียกว่า การชดเชยผ้าเบรกที่มีการเปลี่ยนแปลงสัมประสิทธิ์ไปตามอุณหภูมิน้อย เป็นผ้าเบรกชนิดที่คุณภาพดี

อย่างไรก็ตาม ตามความจริงผ้าเบรกที่มีพื้นที่น้อยจะมีความร้อนได้ง่ายกว่า ทำให้สัมประสิทธิ์ลดลง และมีผลต่อประสิทธิภาพในการเบรก การเบรกไม่อยู่ก็อาจเกิดขึ้นได้ง่ายจากการที่ผิวหน้าสัมผัสของผ้าเบรกไม่ถูกต้อง และการที่ผ้าเบรกจับไม่สม่ำเสมอก็จะเป็นสาเหตุให้เบรกดึงข้างไดข้างหนึ่ง ผิวหน้าสัมผัสของผ้าเบรกข้างซ้ายและขวาไม่จับที่ตำแหน่งเดียวกัน หรือจับไม่เท่ากันก็จะเป็นเหตุให้อุณหภูมิของเบรกทั้ง2ข้างไม่เท่ากัน ทำให้เบรกดึงไปข้างใดข้างหนึ่ง

การเปรียบเทียบคุณสมบัติของผ้าเบรกAsbestos กับ Metallic
เปรียบเทียบความฝืด(Friction) กับอุณหภูมิ(Temperature)
- ที่อุณหภูมิต่ำ หรือขณะที่ผ้าเบรกยังไม่มีเกิดความร้อน ผ้าเบรก Asbestos จะมีความฝืดมากกว่าผ้าเบรก Metallic
- แต่เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง หรือผ้าเบรกเกิดความร้อน มีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้ว ผ้าเบรก Metallic จะมีความฝืดมากกว่า ผ้าเบรก Asbestos
นั่นคือ ในช่วงแรกของการใช้งาน เมื่อรถเคลื่อนตัว ผ้าเบรก Asbestos จะเบรกได้ดีกว่าผ้าเบรก Metallic แต่เมื่อความเร็วสูงขึ้น ผ้าเบรก Metallic จะสามารถเบรกได้ดีกว่าผ้าเบรก Asbestos
เปรียบเทียบการสึก หรือการหมดของผ้าเบรก กับอุณหภูมิ
- ณ ที่อุณหภูมิต่ำ หรือขณะที่ผ้าเบรกยังไม่เกิดความร้อน การสึกของผ้าเบรก Metallic กับผ้าเบรก Asbestos จะพอๆกัน
- เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ผ้าเบรก Asbestos จะมีการสึกหรอมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ผ้าเบรก Metallic การสึกหรอจะค่อยลดลง นั่นก็คือความทนทานต่อการสึกหรอ ของผ้าเบรก Metallic จะสูงกว่าผ้าเบรก Asbestos

ควรเปลี่ยนผ้าเบรกเมื่อใด

โดยทั่วไปเค้าจะกำหนดให้ตรวจสอบผ้าเบรกกันทุก 3 เดือนหรือประมาณ 5,000 กม.ซึ่งถ้าทำได้มันจะเป็นการดี ส่วนอายุ การใช้ งานของผ้าเบรกนั้น ตอบยากว่ามันจะอยู่กับตัวแปรหลายต่อหลายอย่าง เช่นชนิดหรือคุณภาพของผ้าเบรก น้ำหนักรถ หรือ การใช้งาน เพื่อความสะดวกและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้รถ พวกรถรุ่นใหม่ที่มีค่าตัวค่อนข้างสูง เค้ามักจะมีระบบไฟเตือนเบรก (Wear Indica- tor) อยู่บนแผงหน้าปัทม์ ถ้าไฟเตือนนี้ติดโชว์แสดงว่ามีปัญหากับระบบเบรก อาจเป็นที่น้ำมันเบรกมีน้อยกว่า ระดับที่ เหมาะสม หรือผ้าเบรกสึก เหลือบางกว่าที่ควร

สำหรับรถบางประเภทอย่างเช่นพวกรถกระบะ จะนิยมใช้การเตือนด้วยเสียงแทน เป็นเสียงที่เกิดขึ้นจาก ตัวเหล็กที่ยึดติดกับแผ่น ดิสค์เบรกขูดไปบนขอบของจานเบรค เป็นการเตือนว่าผ้าเบรกมีความหนาน้อยกว่า 3 มม. สมควรที่จะรีบ เปลี่ยนได้แล้ว ส่วนพวกรถรุ่นเก่าๆ บางรุ่นที่ไม่มีสัญญาณเตือนอะไรเลย ถ้าเกิดเสียงดังตอน เบรกขึ้นมา เมื่อไร ก็หมายความว่าผ้าเบรก สึกหมดจนถึงแผ่นเหล็กซะแล้ว และแน่นอนว่า มันย่อมสร้างความ เสียหาย ให้ กับจานดิสค์เบรกได้ บางทีถึงกับต้องเปลี่ยนจานเบรกใหม่ เลยก็มี

พวกรถประเภทนี้ เจ้าของจะต้อง ขยัน ถอดล้อออกมาตรวจความหนาของผ้าเบรกบ่อยๆ หรือใช้การคาดเดา จาก ระยะเวลาที่เคย ใช้กับผ้าเบรก ชุดก่อน คือต้องจำไว้ว่าผ้าเบรกหมด จนต้องเปลี่ยนใหม่ หลังจาก ใช้งานไปได้กี่กิโลเมตร ในบางครั้งเรา ก็สามารถตรวจ เช็คความหนาของเบรกได้จากความรู้สึก ในการเหยียบเบรก เช่น อาจจะรู้สึกว่าคันเหยียบเบรกต่ำกว่าปกติ หรือผ้าเบรกคลื่นต้องใช้แรง กดเท้ามากกว่าที่เคยในการหยุดรถ นอกจากนี้ เรายัง พอดูได้ จากระดับของน้ำมันในกระปุกน้ำมันเบรก

ถ้าพบว่ามันลดต่ำมากกว่าปกติแต่ ไม่พบการรั่วไหลของน้ำมันในกระปุกน้ำมันเบรก อาจเป็นไปได้ว่าผ้าเบรกบางลงมาก ทำให้แม่ปั้มที่คาลิเปอร์เบรคต้องยืดตัวออกมา มากระดับของน้ำมันเบรก ในกระปุกเลย ยุบตัว ลงมาด้วย จากการใช้งานจะพบว่าผ้าเบรกด้านหน้าจะมีการสึกหรอมากกว่าด้านหลังโดย เฉพาะพวกที่ใช้ระบบเบรกแบบ หน้าดิสค์ หลังดรัม ส่วนใหญ่ผ้าเบรกดิสค์ด้านหน้าต้องเปลี่ยน 2 ครั้งจึงจะได้เวลาเปลี่ยนผ้าดรัมเบรก หลัง 1 ครั้ง

เรื่องของผ้าเบรก

สมัยก่อนในผ้าเบรกจะมีส่วนผสมที่สำคัญคือสาร "แอสเบสตอส" (สมัยนี้ ก็ยังพอมีอยู่) เนื่องจากมันมีราคาถูกเวลาเบรกก็เสียงเงียบดี อีกด้วย นอกจากนี้ เวลาใช้แล้วกระทะล้อจะไม่ดูสกปรก เพราะฝุ่นของมันจะมีสีขาว ใกล้เคียงกับ สีของ กระทะล้อแม็ก แต่ข้อเสียของมันก็ มีเนื่องจากสาร แอสเบสตอสนี้ จะปลิว คละคลุ้งปะปนอยู่ในอากาศ เมื่อหายใจจะสูดเอาฝุ่นของสารนี้เข้าไปด้วย มันจะเข้า ไปฝังตัวในปอด ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในการผลิตผ้าเบรกยุคก่อนๆ

สารที่ใช้เป็นตัวยึดเกาะผ้าเบรก ให้คงทนอยู่ในสภาพเป็นแผ่นนั้นมักจะมีคุณ ภาพต่ำ ทนความร้อนได้ไม่สูงนัก เวลาใช้เบรกกัน บ่อยๆ จะเกิดความร้อนทำให้เบรกมีอาการ Fade ประสิทธิภาพในการจับตัวลดลง เมื่ออยากจะหยุด รถจึงต้องออกแรง เหยียบเบรก กันมากกว่าปกติ เค้าจึงมีการแบ่งเกรดตามระดับการใช้งาน คือ เกรด S จะมีเนื้อนิ่ม จับ ตัวได้ดีตั้งแต่ช่วงความเร็วต่ำ แต่ถ้าใช้เบรก ในช่วงความเร็วสูงก็จะเกิดการ Fade ได้ง่าย และเกรด R ระดับรถแข่ง จะผสมโลหะ เข้าไปในเนื้อผ้าเบรกค่อนข้างเยอะ แม้จะ เบรก กันรุนแรงในช่วงความเร็วสูงอาการ Fade จะมีน้อยสามารถทนความร้อนได้ดีกว่า แต่ การจับตัวในช่วงที่เบรกเย็น จะมี ประสิทธิภาพต่ำ

ชนิดของผ้าเบรกที่ใช้กันอยู่ทั่วไป

ความแตกต่างระหว่าง ผ้าเบรก NAO, Semi-Metallic, Metallic, Asbestos
สำหรับปัจจุบันนี้ ผ้าดิสก์เบรก ที่ใช้กันแพร่หลายทั่วไปมีด้วยกันอยู่ 5 กลุ่ม คือ

1. NAO (NON ASBESTOS ORGANIC)
เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยสังเคราะห์ที่เป็นอโลหะ มีน้ำหนักเบา เพื่อทำหน้าที่ เป็นโครงสร้างพื้นฐานและแสดงสมบัติของแรงเสียดทาน ในกลุ่มนี้มีลักษณะเด่น ตรงที่ น้ำหนักเบา ง่ายต่อการควบคุมไม่ให้เกิดฝุ่นหรือเสียง และให้แรงเสียดทาน สูงพอสมควร แต่จะมีข้อจำกัดตรงที่ ส่วนมากจะต้องการส่วนผสมหลายชนิด การทนอุณหภูมิการใช้งานที่สูงมากๆไม่ค่อยดี การดูดซับ และคายความร้อน ได้ยาก และที่สำคัญ ใยสังเคราะห์บางตัวที่ไม่ใช่ ASBESTOS อาจยังคงมี อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจอยู่บ้าง

2. Semi-Metallic หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า SemiMet
เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยเหล็กเป็นองค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐานและแสดงสมบัติของแรงเสียดทานเพียงบางส่วน ในกลุ่มนี้มี ลักษณะเด่นตรงที่ มีความปลอดภัยสูงมากต่อระบบทางเดินหายใจ และมีความสามารถในการทนต่อการใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ดี มีการคายความร้อนได้เร็ว แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านการควบคุมไม่ให้เกิดเสียงดังและฝุ่นดำ

3. Fully Metallic หรือ Metallic
เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ผงเหล็กละเอียดมาขึ้นรูปด้วยเทคนิคการซินเทอร์ริง (Sinter) ซึ่งเป็นการอัดขึ้นรูป ที่แรงดันสูง และ อุณหภูมิสูงปานกลาง ซึ่งผงเหล็กที่ใช้จะเป็นผงเหล็กพิเศษโดยจะมีคุณสมบัติของแรงเสียดทานอยู่ในตัว ในกลุ่มนี้มีลักษณะพิเศษ ตรงที่สามารถทนต่ออุณหภูมิการใช้งานที่สูงมากได้

4. ASBESTOS
เป็นผ้าเบรกยุคเก่าที่ใช้สารใยหินเป็นองค์ประกอบหลัก คุณสมบัติพิเศษก็คือ สารใยหินมีราคาถูก และให้แรงเสียดทานได้ดี ที่ อุณหภูมิต่ำๆ แต่มีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมาก จึงมีอารยประเทศหลายๆ ประเทศได้กำหนดให้ ห้ามการ ผลิตผ้าเบรกชนิดนี้

5. กลุ่ม Advance Material
เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่อยู่นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ในการสรรหาวัตถุดิบ ที่มีคุณ ลักษณะ พิเศษต่างๆ เพื่อให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า

ผ้าเบรคที่ดีและควรใช้
ผ้าเบรกที่ดีสำหรับรถสมัยนี้ อย่างแรกคือ ควรเป็นผ้าเบรก ที่ไม่มี สาร แอสเบสตอสผสมอยู่ ผ้าเบรกที่ควรใช้จะให้มีประสิทธิภาพใน การหยุด ได้ดี และมีเสียงน้อย ทั้งในช่วงที่ผ้าเบรกยังเย็นอยู่ และขณะผ้าเบรก มี อุณหภูมิสูง ประเภทที่ช่วงผ้าเบรกเย็นจะเบรกไม่ค่อยอยู่ ต้องรอให้ ผ้าเบรก ร้อนชะก่อน หรือประเภทเบรกคดีเฉพาะตอนเย็น ตอนผ้าเบรก ร้อนแล้วไม่ได้เรื่องมีอาการ Fade เยอะสำหรับรถที่ ใช้งานระดับ ชาวบ้าน ในยุคนี้ต้องถือว่าเป็นผ้าเบรกที่จะไม่ค่อย น่าจะคบด้วย ซักเท่าไร เพราะสมัยนี้เค้าพัฒนากันไปเยอะแล้ว

* * *หลังจากเปลี่ยนผ้าเบรกมาใหม่ๆ ไม่ว่าจะเปลี่ยนผ้าเบรก เจียร์จานเบรก หรือเปลี่ยนจานเบรกใหม่ก็ตาม ช่วงระยะการใช้รถใน 200 กม.แรก ควรจะมีการ Bedding-in กันซะก่อน ไม่ควรลงเบรกกันอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้ผ้าเบรก และจานเบรกเป็นรอย จะทำให้ เวลาเบรกมีเสียงดังและประสิทธิภาพในการหยุดด้อยลงไป จึงควรขับและใช้เบรกกันอย่างนิ่มนวลไปก่อนจนกว่าจะพ้นระยะ 200 กม. แรกไปก่อน* * *