บริษัท สำโรงผ้้าเบรค จำักัด : ผ้าเบรครถยนต์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม ศูนย์บริการ โทร 0-2393-9025-6

ผ้าเบรค ROBUST ผู้ผลิต จำหน่าย และสั่งทำ ผ้าเบรคเครื่องจักรอุตสาหกรรม ผ้าเบรคเครื่องเพรส ผ้าเบรคมอเตอร์ ผ้าเบรคครัชน้ำมันและผ้าเบรค เครนทุกชนิด มืออาชีพด้านผ้าเบรคเครื่องจักรอุตสาหกรรม รับประกันคุณภาพทุกรุ่นทุกชนิด ทุกรูปแบบการใช้งาน บริการรวดเร็ว งานด่วนรับซ่อม และจัดส่งได้ภายในวันเดียว
Home : samrongbrakepad.com


สำโรงผ้าเบรค

ระบบเบรครถยนต์

ดิสก์ / ดรัม

เป็นชุดเบรคที่ล้อ คือ อุปกรณ์ชิ้นที่หมุนพร้อมล้อ และรับแรงกดผ้าเบรกผลิตจากวัสดุ เนื้อแข็งเรียบแต่ไม่ลื่นเพื่อให้ผ้าเบรกกดอยู่ได้ ทนความร้อนสูง และไม่สึกหรอง่าย

ดิสก์ / ดรัม มีจุดเด่นและด้อยต่างกัน

พื้นฐานดั้งเดิมของรถยนต์ส่วนใหญ่เมื่อหลายสิบปีก่อนนิยมใช้แบบดรัม-DRUM หรือแบบดุมครอบ ต่อมาก็เปลี่ยนมาใช้แบบดิสก์-DISC หรือแบบจาน เพราะความเหนือชั้น ในประสิทธิภาพ แล้วก็ยังพัฒนาตัวดิสก์และอุปกรณ์อื่นให้ดีขึ้นไปอีก
ดรัมเบรค มีลักษณะเป็นฝาครอบทรงกลมมีผ้าเบรคโค้งแบนเป็นรูปเกือบครึ่งวงกลม ติดตั้งภายใน ตัวดรัม ถ้ามองจากภายนอกทะลุกระทะล้อเข้าไปจะเห็นฝาครอบโลหะทรงทึบ โดยไม่เห็นหน้าสัมผัสและชุดเบรคที่ถูกครอบไว้ เมื่อมีการเบรค จะมีการแบ่งผ้าเบรค ออกไปดันกับด้านในของตัวดรัม โดยเปรียบเทียบง่าย ๆ คือ คนเป็นกระบอกเบรค ยืดแขนออกไปแล้วมีผ้าเบรคติดอยู่ที่ฝ่ามือ มีฝาครอบหมุนอยู่ เมื่อมีการเบรคก็ยืดแขน ดันฝ่ามือออกไปให้ฝาครอบหมุนช้าลง

ดรัมเบรคมีจุดเด่น คือ ต้นทุนต่ำ ทนทาน มีพื้นที่ของผ้าเบรคมาก แต่มีจุดด้อยคือ กำจัดฝุ่นออกจากตัวเองได้ไม่ดี อมความร้อน เพราะเป็นเสมือนฝาครอบอยู่ ซึ่งจะทำให้ แรงเสียดทานของผ้าเบรคลดลงหรือผ้าเบรกไหม้ และเมื่อใช้งานไปสักพัก หน้าสัมผัสกับผ้าเบรคหรือดรัมอาจไม่แนบสนิทกัน ต้องตั้งระยะห่างบ่อย หรือแม้แต่มีการปรับตั้งโดยอัตโนมัติก็อาจยังไม่สนิทกันนัก จนขาดความฉับไวในการทำงาน มีผ้าเบรคให้เลือกน้อยรุ่นน้อยยี่ห้อ และเมื่อลุยน้ำจะไล่น้ำออกจากดรัมและผ้าเบรคได้ช้า

ดิสก์เบรค

มีลักษณะเป็นจานแบนกลม มีผ้าเบรคแผ่นแบนติดตั้งอยู่รวมกับชุดก้านเบรค (คาลิเปอร์) แล้วเสียบคร่อมประกบจานเบรกซ้าย-ขวา ถ้ามองจากภายนอกทะลุ กระทะล้อเข้าไป จะเห็นป็นจานโลหะเงาเพราะถูกผ้าเบรกถูทุกครั้งที่เบรค และมีชุดก้านเบรคคร่อมอยู่ ด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อเบรคจะมีการบีบผ้าเบรคเข้าหากัน ดันเข้ากับตัวดิสก์ ต่างจากแบบดรัมที่เเบ่งตัวผ้าเบรคออกโดยเปรียบเทียบง่าย ๆ คือ คนเป็นกระบอกเบรก มีผ้าเบรคอยู่ที่ฝ่ามือ ทำแขนเหมือนกำลังยกมือไหว้แต่ไม่ชิดสนิทกันมีแผ่นกลม หมุนแทรกอยู่ระหว่างมือเมื่อมีการเบรกก็ประกบฝ่ามือเข้าหากัน

ดิสก์เบรคมีจุดเด่นคือ ประสิทธิภาพสูงแม้จะมีพื้นที่สัมผัสของผ้าเบรคแคบกว่าแบบดรัมในขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เท่ากัน ทำงานฉับไว ควบคุมระยะห่างและหน้าสัมผัสของผ้าเบรกกับตัวดิสก์ได้ดี โดยไม่ต้องปรับตั้ง ไม่อมฝุ่นเพราะทำความสะอาดตัวเองได้ดี ไล่น้ำออกจากตัวดิสก์ และผ้าเบรคได้เร็ว แต่มีจุดด้อยที่ไม่สามารถนับเป็นจุดด้อยได้เต็มที่นัก เพราะได้ใช้กัน แพร่หลายไปแล้ว คือ ต้นทุนสูง ผ้าเบรคหมดเร็วโดยมีรายละเอียดย่อยออกไปอีกเช่น มีการพัฒนาการระบายความร้อน เพราะยิ่งผ้าเบรคหรือตัวดิสก์ร้อนก็ยิ่งมีแรงเสียดทาน ต่ำลง หรือผ้าเบรคไหม้ ด้วยการทำให้พื้นที่ของจานเบรคสัมผัสกับอากาศมีการถ่ายเทกันมากขึ้น โดยการผลิตเป็นจานหนา แล้วมีร่องระบายความร้อนแทรกอยู่ตรงกลาง เสมือนมีจาน 2 ชิ้น มาประกบไว้ห่าง ๆ กัน โดยรถยนต์ในสายการผลิตส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบดิสก์แบบ มีครีบระบายล้อหน้า เพราะเบรกหน้ารับภาระในการเบรคมากกว่า ส่วนการเจาะรู และเซาะร่อง มักนิยมในกลุ่มรถยนต์ตกแต่งหรือรถแข่ง เพราะสร้างแรงเสียดทานได้สูง แต่กินผ้าเบรคและแค่มีครีบระบายก็เพียงพอแล้วส่วนการขยายขนาดของดิสก์เบรกให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเบรค เพราะสามารถเพิ่มพื้นที่ของผ้าเบรคพร้อมใช้ก้ามเบรคให้ใหญ่ขึ้นได้ ซึ่งมีการระบายความร้อนดีขึ้นจากพื้นที่สัมผัสอากาศที่มากขึ้น นับเป็นหลักการที่เป็นจริง แต่ในการใช้งาน มักมีขีดจำกัดที่ตัวดิสก์และก้ามเบรคต้องไม่ติดกับวงในของกระทะล้อ

รถแข่ง หรือรถยนต์ที่ใช้กระทะล้อใหญ่ ๆ จึงจะเลือกใช้วิธีขยายขนาดของดิสก์เบรคนี้ได้นับเป็นเรื่องปกติที่ระบบดิสก์เบรคมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงกับระบบดรัมเบรค ทั้งที่มีพื้นที่หน้าสัมผัสของผ้าเบรคน้อยกว่า ด้วยจุดเด่นข้างต้น ระบบดิสก์เบรคจะให้ ประสิทธิภาพในการเบรคสูงกว่าดรัมเบรค ตัวดิสก์และดรัมเบรคผลิตจากวัสดุเนื้อแข็งกว่า ผ้าเบรคเพื่อความทนทาน แต่ก็ยังมีการสึกหรอจนไม่เรียบขึ้นได้ เพราะผ้าเบรคก็มีความแข็ง พอสมควร จึงกัดกร่อนตัวดิสก์หรือดรัมเบรคได้ เมื่อผ้าเบรคหมด ไม่ใช่สูตรสำเร็จว่า ต้องเจียร์เรียบตัวดิสก์หรือดรัมเบรคทุกครั้งตามสไตล์ช่างไทยที่ต้องการเงินเพิ่ม เพราะต้องดูว่ายังเรียบร้อยพอไหม ถ้าเป็นรอยมากค่อยเจียร์เพราะดิสก์หรือดรัมเบรค มีขีดจำกัดในแต่ละรุ่นว่าต้องไม่บางเกินกำหนดเจียร์มาก ๆ ก็เปลืองและถ้าไม่เรียบ ก็จะทำให้ผ้าเบรคสัมผัสได้ไม่สนิทการเลือกติดตั้งระบบเบรคของผู้ผลิตรถยนต์ในแต่ละล้อ มีหลักการพื้นฐาน คือ ประสิทธิภาพของระบบเบรกล้อคู่หน้าต้องดีกว่าล้อหลังเสมอ เพราะเมื่อมีการเบรค น้ำหนักจะถ่ายลงด้านหน้า ล้อหลังจะมีน้ำหนักกดลงน้อยกว่า ระบบเบรคหน้าจึงต้อง ทำงานได้ดีกว่า มิฉะนั้น เมื่อกดเบรคแรง ๆ หรือเบรคบนถนนลื่น อาจจะเกิดการปัดเป๋ หรือหมุนได้เสมือนเป็นการดึงเบรคมือ ดังนั้น ถ้าอยากจะตกแต่งระบบเบรคเพิ่มเติม ก็ต้องเน้นว่าประสิทธิภาพของเบรคหลังต้องไม่ดีกว่าเบรคหน้า กลุ่มที่เปลี่ยนเฉพาะ จากดรัมเบรคหลังเป็นดิสก์ โดยไม่ยุ่งกับดิสก์เบรคหน้าเดิม ต้องระวังไว้ด้วยรถยนต์ในอดีตเลือกติดตั้งระบบดรัมเบรคทั้ง 4 ล้อ แล้วจึงพัฒนามาสู่ดิสก์เบรคหน้า ดรัมเบรคหลัง และสูงสุดที่ดิสก์เบรค 4 ล้อแต่ก็ยังยึดพื้นฐานเดิมคือ เบรคหน้าต้องดีกว่า เบรคหลังเสมอ แม้จะเป็นดิสก์เบรคทั้งหมดแต่ดิสก์เบรคหน้ามักมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบระบายความร้อน มีผ้าเบรคขนาดใหญ่ และมีแรงกดมาก ๆ จากกระบอกเบรคขนาดใหญ่ โดยดิสก์เบรคหลังมักจะเป็นแค่ขนาดไม่ใหญ่นัก ไม่มีครีบระบาย มีผ้าเบรคขนาดไม่ใหญ่ และมีแรงกดไม่มากจากกระบอกเบรคขนาดเล็กเพื่อมิให้มีประสิทธิภาพสูงเกินเบรคหน้า


ที่มา http://www.isuzu4u.com

ผ้าเบรครถยนต์

ผ้าเบรค
เป็นอุปกรณ์สร้างแรงเสียดทานกดเข้ากับดิสก์หรือดรัมเบรก โดยมีพื้นฐานคือ เนื้อวัสดุของตัวดิสก์หรือดรัมเบรคต้องแข็งเพื่อไม่ให้สึกหรอมาก แต่ต้องมีผิวที่ไม่ลื่น ส่วนผ้าเบรคต้องมีเนื้อนิ่มกว่าตัวดิสก์หรือดรัม เพื่อให้มีแรงเสียดทานสูงหรือสึกหรอมากกว่า เพราะเปลี่ยนได้ง่าย โดยมีการผลิตขึ้นจากวัสดุผสมหลายอย่าง และอาจผสมกับโลหะเนื้อนิ่ม เพื่อให้เบรคในช่วงความเร็วสูงได้ดี ในอดีตใช้แร่ใยหิน แอสเบสตอสเป็นวัสดุหลัก ของผ้าเบรค เมื่อผ้าเบรคสึกจะเป็นผงสีขาวไม่เกาะกระทะล้อแต่สร้างมลพิษในอากาศ ทำลายระบบหายใจของสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันจึงหันมาใช้แกรไฟต์คาร์บอนแทน เมื่อผ้าเบรคสึกจะมีผงสีดำออกมาเกาะเป็นคราบ ดูสกปรก แต่ไม่อันตราย

ผ้าเบรคมีหลายระดับ ประสิทธิภาพและความแข็ง ด้วยหลักการง่าย ๆ คือ ยิ่งนิ่มยิ่งสร้างแรงเสียดทานได้ง่าย แต่ไม่ทนความร้อนอาจลื่น หรือไหม้ในการเบรคบ่อย ๆ หรือเบรคในช่วงความเร็วสูง และยิ่งแข็งยิ่งทนร้อน เบรคดีในช่วงความเร็วสูง แต่ต้องการการอุ่นให้ร้อนก่อน หรือเบรกช่วงความเร็วต่ำไม่ค่อยอยู่ จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะการขับและสมรรถนะของรถยนต์ผ้าเบรคเป็นอุปกรณ์หนึ่ง ถ้าเดิมใช้งานแล้วไม่พึงพอใจก็สามารถเลือกให้แตกต่างจาก ผ้าเบรคมาตรฐานเดิมได้ เพราะผู้ผลิตรถยนต์ไม่จำเป็นต้องผลิตทุกชิ้นส่วนขึ้นเอง สามารถหาผู้ผลิตชิ้นส่วนเฉพาะรายย่อย (SUPPLYER) ผลิตชิ้นส่วนส่งให้ในราคาถูกได้ เพราะมีปริมาณการผลิตสูง เมื่อมีการผลิตส่งให้ผู้ผลิตรถยนต์ ก็อาจจะผลิตอะไหล่ ที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน หรือเหนือกว่า ตีตราบรรจุกล่องเป็นสินค้าอิสระของตนเอง เพื่อจำหน่ายกับผู้ใช้ทั่วไปด้วย

เกรดประสิทธิภาพผ้าเบรค
มีหลายระดับ แบ่งตามการทนความร้อน เพราะการสร้างแรงเสียดทานในการเบรค ต้องมีความร้อนเกิดขึ้นเมื่อผ้าเบรคร้อนเกินขีดจำกัดประสิทธิภาพจะลดลง ลื่นหรือไหม้ การเลือกต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและสมรรถนะของรถยนต์

เกรดมาตรฐาน S-STANDARD
ใช้กับรถยนต์ทั่วไป ยกเว้นรถยนต์สมรรถนะสูงหรือรถสปอร์ต ส่วนผสมของเนื้อผ้าเบรค สร้างความฝืดได้ง่าย สามารถลดความเร็วได้ทันที ไม่ต้องการการอุ่นผ้าเบรคให้ร้อนก่อน ทำงานได้ดีเฉพาะช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง และมีความร้อนสะสมไม่สูงนัก เมื่อมีการเบรคอย่างต่อเนื่อง อาจลื่นหรือไหม้ได้ง่าย เมื่อต้องเบรคบ่อย ๆ หรือเบรค ในช่วงความเร็วสูงอย่างรวดเร็ว สาเหตุที่รถยนต์ทั่วไปถูกกำหนดให้ใช้ผ้าเบรคเกรด S เนื่องมาจากโรงงานผู้ผลิต เพราะส่วนใหญ่ยังต้องมีการใช้งานในเมือง หรือมีการใช้ ความเร็วไม่จัดจ้านนัก แม้จะขับเร็วบ้างหรือกระแทกเบรคแรง ๆ บ้าง แต่ก็ไม่บ่อย จึงถือว่าเพียงพอในระดับหนึ่ง

เกรดกลาง M-MEDIAM-METAL
รองรับการเบรคในช่วงความเร็วปานกลาง-สูงได้ดี เพิ่มความทนทานต่อความร้อนโดยตรง และความร้อนสะสมในการเบรกสูงขึ้นกว่าผ้าเบรคเกรด S แต่ยังคงประสิทธิภาพการใช้งาน ช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลางได้ดีเพราะเนื้อผ้าเบรคยังไม่แข็งเกินไป ส่วนมากจะมีส่วนผสม ของโลหะอ่อน หรือวัสดุที่สามารถสร้างแรงเสียดทานเมื่อมีความร้อนสูงได้ดี เนื้อของผ้าเบรค อาจเป็นสีเงาจากผงโลหะที่ผสมอยู่ รถยนต์ทั่วไป ถ้าผู้ขับเท้าขวาหนัก แม้ไม่ได้ตกแต่ง เครื่องยนต์ หรือเครื่องยนต์มีพลังแรงสักหน่อย ก็สามารถเลือกใช้ผ้าเบรคเกรด M แทนเกรด S เดิมได้ เพราะยังสามารถรองรับการใช้งานได้ทุกรูปแบบและทุกช่วงความเร็ว โดยอาจมีจุดด้อย ด้านประสิทธิภาพการเบรคในช่วงที่ผ้าเบรคยังเย็นอยู่ใน 2-3 ครั้งแรก และมีราคาแพงกว่า ผ้าเบรกเกรด S เพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

เกรดกึ่งแข่ง R-RACING
เป็นผ้าเบรคเกรดพิเศษ ซึ่งถูกผลิตเพื่อรองรับรถยนต์สมรรถนะสูงจัดจ้าน- รถแข่ง เหมาะกับการใช้ความเร็วสูง หรือมีความร้อนสะสมที่ผ้าเบรคจากการเบรคถี่ ๆ เนื้อของผ้าเบรคเกรดนี้มักมีการผสมผงโลหะไว้มากบางรุ่นเกือบจะเป็นโลหะอ่อน เช่น เป็นทองแดงผสมเกือบทั้งชิ้น การใช้งานในเมืองด้วยความเร็วต่ำ จำเป็นต้องมี การอุ่นผ้าเบรคเกรด R ให้ร้อนก่อน และเบรคหยุดได้ระยะทางยาวกว่าผ้าเบรคเนื้อนิ่มเกรด S-M ส่วนในช่วงความเร็วสูง ร้อนแค่ไหนก็ลื่นหรือไหม้ยาก ผ้าเบรคเกรดนี้ ไม่ค่อยเหมาะ กับรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ยกเว้นพวกรถสปอร์ต หรือรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูงจัดจ้านจริง ๆ เพราะไม่เหมาะกับการใช้งานด้วยความเร็วต่ำ ซึ่งลื่นกว่าผ้าเบรคเกรดS อีกทั้งยังมีราคาแพงกว่าผ้าเบรคเกรด S-M ไม่น้อยกว่า 3-5 เท่าด้วยในการจำหน่ายจริงมักไม่มีการแบ่งผ้าเบรคเกรด S-M-R อย่างชัดเจนไว้บนข้างกล่อง ในการเลือกใช้จึงต้องเลือกด้วยการสอบถามระดับของผ้าเบรคในยี่ห้อที่สนใจ ซึ่งมักระบุเพียงว่าเบรกรุ่นนั้นทนความร้อนสูงกว่าอีกรุ่นหนึ่งในยี่ห้อเดียวกันหรือไม่ หรือดูช่วงตัวเลขของค่าความร้อนที่ผ้าเบรกชุดนั้นสามารถทำงานได้ดี เช่น ผ้าเบรก เกรด S-M ทำงานได้ดีตั้งแต่ 0-20 องศาเซลเซียสขึ้นไป ในขณะที่ผ้าเบรคเกรด R มักมีค่าความร้อน เริ่มต้นที่ 50-100 องศาเซลเซียสขึ้นไป อันหมายถึงการใช้งานในช่วงความร้อนต่ำไม่ดีนั่นเอง ควรเลือกเกรดผ้าเบรคให้ตรงลักษณะการใช้งานอย่างรอบคอบ และโดยทั่วไปเกรด M น่าสนใจที่สุดเพราะคงประสิทธิภาพการเบรคช่วงความเร็วต่ำไว้ใกล้เคียงกับเกรด S แต่รองรับความเร็วสูงดีกว่า และราคาไม่แพง ราคาจริงของผ้าดิสก์เบรค 2 ล้อ (4 ชิ้น) เกรด S-M สำหรับรถยนต์เกือบทุกรุ่น ตั้งแต่ซิตี้คาร์ยันสุดหรูไม่แตกต่างกันมากนัก 800-2,000 บาท คือราคาพื้นฐาน ส่วนดรัมเบรค 2 ล้อ ไม่น่าเกิน1,000 บาท (ไม่รวมค่าแรงในการเปลี่ยน)

แม่ปั๊มเบรก
ทำหน้าที่สร้างแรงดันน้ำมันเบรคเมื่อมีการสั่งจากผู้ขับ ส่วนใหญ่ติดตั้งรวมกับหม้อลมเบรค ภายในประกอบด้วยลูกยางหลายลูก และสปริงโดยจะคืนตัวเองเมื่อไม่มีการกดแป้นเบรค

อาการการเสีย คือ ไม่สามารถสร้างแรงดันได้จากลูกยางที่หมดสภาพ ไม่สามารถดัน รีดน้ำมันได้ หรือรั่วย้อนออกมา หรือเสียทั้งตัวลูกยางพร้อมตัวกระบอกเป็นรอย การซ่อมจึงมีทั้งแบบเปลี่ยนเฉพาะลูกยางพร้อมชุดซ่อม หรือเปลี่ยนทั้งตัว

หม้อลมเบรค


เป็นเพียงอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงกดแป้นเบรคให้เบาเท้าขึ้น กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ของรถยนต์ยุคใหม่ไปแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำมันเบรค โดยใช้แรงดูดสุญญากาศ จากท่อร่วมไอดีของเครื่องยนต์มาช่วยดันแผ่นยางไดอะเฟรมและแกนแม่ปั๊มตัวบน เมื่อมีการกดแป้นเบรค โดยที่ประสิทธิภาพที่แท้จริงของระบบเบรคยังขึ้นอยู่กับ อุปกรณ์อื่นไม่ใช่เฉพาะที่ตัวหม้อลม ขนาดของหม้อลมต้องพอเหมาะ ขนาดเล็กไป ก็หนักเท้าเหมือนเบรคไม่ค่อยอยู่ ขนาดใหญ่ไปก็เบาเท้า แต่แรงกดที่มากเกินไป ในขณะที่อุปกรณ์อื่นยังเหมือนเดิม ก็อาจทำให้ล้อล็อกได้ง่ายเมื่อเบรคบนถนนลื่น หรือกะทันหัน

อาการเสีย ที่พบบ่อยคือ ผ้ายางไดอะเฟรมภายในรั่ว เมื่อกดแป้นเบรคจะแข็งขึ้น และเครื่องยนต์จะสั่นเหมือนอาการท่อไอดีรั่ว ทดสอบโดยกดแป้นเบรคในขณะจอด และติดเครื่องยนต์เดินเบาไว้ หม้อลมเบรกรั่วแต่แม่ปั๊มตัวบนดี ยังสามารถใช้ระบบเบรก ตามปกติได้ แต่จะหนักเท้าในการกดแป้นเบรกเท่านั้น การซ่อมหม้อลมบางรุ่นมีอะไหล่ ให้เปลี่ยนเฉพาะผ้ายางไดอะเฟรมพร้อมชุดซ่อมแต่ส่วนใหญ่มักต้องเปลี่ยนทั้งลูก ซึ่งมี 2 ทางเลือก ทั้งของใหม่และเก่าเชียงกง

ท่อน้ำมันเบรค


ประกอบด้วยท่อโลหะ (เหล็ก-ทองแดง) ขนาดเล็กในเกือบทุกจุดต่อ แล้วมีท่ออ่อน ที่ให้ตัวได้ต่อจากท่อโลหะบนตัวถังไปยังล้อที่ขยับตลอดเวลาที่ขับ

อาการเสีย คือ ท่ออ่อนบวมหรือรั่ว ส่วนท่อโลหะนั้นแทบไม่พบว่าเสียเลย ท่ออ่อนทั่วไป ผลิตจากยางทนแรงดันสูงทนทานเพียงพอสำหรับการใช้งานปกติ แต่ก็มีแบบพิเศษ ที่นิยมใช้ในรถแข่งมาจำหน่ายเป็นแบบท่อหุ้มสเตนเลสถักซึ่งทนทั้งการฉีกขาด จากภายนอกหรือแตกด้วยแรงดันจากภายใน ซึ่งไม่จำเป็นนัก แต่ถ้าอยากจะใส่ ก็ไม่มีอะไรเสียหาย และอาจลดอาการหยุ่นเท้าให้การตอบสนองรวดเร็วขึ้นเล็กน้อย ถ้าท่ออ่อนเดิมขยายตัวได้บ้างเมื่อกดเบรค

กระบอกเบรกที่ล้อ


ทำหน้าที่รับแรงดันน้ำมันเบรคที่ถูกดันมาเพื่อดันลูกสูบเบรคภายในกระบอกแล้วไปกด ผ้าเบรก มีอย่างน้อย 1กระบอก 1 ลูกสูบ (POT) ต่อ 1 ล้อ ภายในประกอบด้วยลูกสูบ พร้อมลูกยาง หรืออาจมีสปริงด้วย การมีขนาดของกระบอกเบรคใหญ่หรือจำนวน กระบอกเบรค ต่อ 1 ล้อมาก ๆ (2-4 POT) จะทำให้มีแรงกดไปสู่ผ้าเบรคมากขึ้น แต่ก็ต้องใช้แม่ปั๊มตัวบนที่รองรับกันได้ดีด้วย

อาการเสีย คือ ไม่สามารถรับแรงดันจากลูกยางหมดสภาพได้ จนไม่สามารถดันลูกสูบเบรค ออกไปได้เต็มที่ หรือน้ำมันเบรครั่วซึมออกมา และเสียทั้งตัวลูกยางพร้อมตัวกระบอกเป็นรอย การซ่อมจึงมีทั้งแบบเปลี่ยนเฉพาะลูกยางและชุดซ่อมหรือเปลี่ยนทั้งตัว
ที่มา http://www.isuzu4u.com

ข้อดีและข้อเสียของดิสก์เบรกและดรัมเบรก

บางคนบอกว่า ดิสก์เบรค ดีกว่า ดรัมเบรค บางคนก็บอกว่า ดรัมเบรค ดีกว่า ดิสก์เบรค อะไรดีกว่ากันแน่ ลองเปลี่ยบเที่ยบดูครับ

ข้อดีของดิสก์เบรก

1.ใช่ชิ้นส่วนน้อยกว่าดรัมเบรค
2.ตอบสนองได้เร็วกว่าดรัมเบรค
3.การระบายความร้อนดีกว่าดรัม
4.รีดนำจากผ้าเบรคได้เร็วกว่า(เวลาฝนตก)
5.บริการง่ายกว่าดรัมเบรค
6.ไม่ต้องตั้งระยะห่างของผ้าเบรคเพราะลูกยางเบรคจะตั้งระยะห่างให้อัติโนมัติ

ข้อเสียของดิสก์เบรก

1.อะไหล่แพงก่า
2.ผ้าเบรคหมดเร็วกว่า
3.ประสิทธ์ภาพดิสก์เบรคน้อยกว่าดรัมเล็กน้อย



ข้อดีของดรัมเบรค

1.ประสิทธ์ภาพในการเบรคดีกว่าดิสก์
2.อะไหล่ราคาถูกกว่า
3.เปลืองผ้าเบรคน้อยกว่า
4.อายุใช้งานยาวนานกว่า

ข้อเสียของดรัมเบรค

1.บริการยากกว่าดิสก์เบรค
2.ต้องตั้งระยะหางผ้าเบรค
3.ระบายความร้อนได้ยากกว่า
4.รีดนำได้ยากกว่า
5.การตอบสนองช้ากว่า

อาการของเบรคแบบต่างๆ

เบรค นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของรถยนต์ของเราก็ว่าได้ ถ้าเบรคดีก็จะทำให้ผู้ขับขี่อุ่นใจได้ ดังนั้นเราจึงควรทราบ อาการของเบรคแบบต่างๆ เพื่อที่จะสามารถตรวจเช็คเบื้องต้นด้วยตัวเองได้

อาการเบรคแบบต่างๆ มีดังนี้ครับ

เบรคตื้อ

เป็นอาการที่เวลาเหยียบเบรค แล้วรู้สึกว่า เบรคมันไม่ค่อยอยู่ เบรกแข็งๆ ต้องออกแรงเหยียบเบรคมากๆ อาการเบรคตื้อ เกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น แรงดูดสุญญากาศของหม้อลมน้อย เพราะปั้มตูดไดชาร์จเสีย หรือผ้าในหม้อลมรั่ว วาล์ว PVC หรือ Combo Vale เสีย สายลมรั่ว

เบรคต่ำ

เวลาเหยียบเบรคแล้วรู้สึกว่า แป้นเบรคจมลงต่ำกว่าปรกติ เหยียบค้างไว้เบรคค่อยๆจมลงๆ เป็นอาการของเบรคต่ำ ส่วนมากเกิดมาจาก ลูกยางแม่ปั้มเบรคบน มีอาการสึกหรอ หรือบวม ทำให้แรงดันเบรคลดลง ต้องออกแรงเบรคมากขึ้น หรือต้องเหยียบเบรคซ้ำๆกัน หลายๆครั้ง

เบรคติด

อาการเหมือนรถมีอาการเบรคทำงานอยู่ตลอดเวลา รถจะตื้อ เบรกร้อนมีกลิ่นเหม็นไหม้ เบรกปัดซ้าย-ขวา รถวิ่งไม่ออก จอดแล้วเข็นรถไม่ได้ เป็นอาการของเบรกติด ส่วนมากเกิดจาก การลูกยางกันฝุ่นของแม่ปั้มเบรกเสีย ทำให้มีน้ำซึมเข้าไปในกระบอกเบรก จนเกิดสนิมติดขัด ลูกสูบเบรกไม่สามารถเคลื่อนตัวเข้าออกได้
การแก้ไข เปลี่ยนชุดซ่อมแม่ปั้มเบรกล่าง ถอดมาขัดสนิมออก ทั้งแม่ปั้ม และกระบอกเบรก หรือถ้ามีสนิมมากจนเกิดตามด จะทำให้น้ำมันเบรกรั่วซึมได้ ต้องเปลี่ยนลูกสูบเบรก หรือแม่ปั้มทั้งชุด

เบรกแตก

คืออาการ เหยียบเบรกแล้ว แป้นเบรกที่ขาเบรกจม จนแป้นเบรกกระทบกับพื้นรถ หรือนิ่มหยุ่นๆก่อนแล้วจมลงติดพื้น เมื่อเหยียบเบรกแล้วรถยังคงวิ่งที่ความเร็วเท่าเดิม เหมือนไม่มีเบรก
สาเหตุ

1. เกิดจากรั่วของน้ำมันเบรค เช่นสายอ่อนเบรคแตก ท่อแป๊ปเบรคแตก หรือน้ำมันเบรครั่วซึมมาเป็นเวลานาน ลูกยางแม่ปั้มเบรค และแม่ปั้มเบรคเก่า เสียหายจนน้ำมันเบรครั่วไหลออกจนหมด

2. ผ้าเบรคหมด จนหลุดออก เป็นไปได้บ่อยครั้งที่ เวลาที่ผ้าเบรคหมดนานๆ และยังปล่อยไว้ไม่ได้รับการเปลี่ยน ผ้าเบรคจะบางมากจนหลุดออกจากฝักก้ามปูเบรค จะทำให้ลูกสูบเบรคหลุด เบรคจะแตกทันที

3. ส่วนประกอบในระบบเกิดการหลุดหลวม เกิดได้หลายสาเหตุ เช่นสากแป้นเบรค (ที่ตั้งได้ไขไม่แน่นหลุดเกลียว หรือไม่ได้ใส่สลักล็อค) น็อตยึดขาเบรคหลุด ฝักเบรค หรือคาริบเปอร์เบรคยึดไม่แน่น และส่วนประกอบต่างๆในระบบเบรคประกอบไม่แน่นหลุดออก

4. สายอ่อนเบรคแตก สายอ่อนที่เก่ามากๆ จะเกิดอาการบวม เวลาปกติก็ดูดี แต่พอเหยียบเบรคกลับ พองตัวเหมือนลูกโป่ง พวกนี้อันตรายมาก เวลาเหยียบเบรคเบาๆแรงดันน้ำมันเบรคต่ำก็รู้สึกดี แต่พอเวลาคับขัน เหยียบเบรคกะทันหันอย่างแรง สายอ่อนเบรคก็เกิดการรับแรงดันไม่ไหวแตกออก และการติดตั้งสายอ่อนเบรคไม่ดี เสียดสีกับล้อ และยาง หรือเสียดสีกับระบบช่วงล่างของรถ

เบรคหมด

คืออาการ เบรคแล้วเกิดเสียงดัง เหมือนเหล็กสีกับเหล็ก เบรคลื่นๆ เป็นอาการของเวลาที่ผ้าเบรคหมด ผ้าเบรคบางรุ่นจะมีส่วนที่เป็นตุ่มโลหะมาแตะกับจานเบรคเพื่อให้เกิดเสียงดัง เป็นอาการส่งสัญญาณเตือน หรือติดตั้ง สวิทซ์ไฟโชว์ไว้ที่แผงหน้าปัด ต้องรีบเปลี่ยนโดยทันที เพราะจะทำให้ผ้าเบรคสีกับจนเบรคเสียหาย จนต้อเปลี่ยนจานเบรคใหม่ เสียเงินเพิ่มอีก

เบรคสั่น

คืออาการที่เหยียบแล้ว แป้นเบรคเกิดอากาสั่นขึ้นๆลงๆ รู้สึกได้ด้วยเท้า รถที่เบรคสั่นมากๆจะรู้สึกสั่นถึงพวงมาลัย หรือเวลาเหยียบเบรค เกิดอาการสั่นสะท้านไปทั้งคัน

สาเหตุเกิดจาก จานเบรคเกิดการคดบิดตัว เพราะการใช้งานที่รุนแรงกินไป การลุยน้ำ (จานเบรคที่ร้อนจัด เวลาเจอน้ำมักจะบิดตัวได้ง่าย) ลูกปืนล้อหลวม น็อตล้อหลวม ผ้าเบรคสึกหรอไม่เท่ากัน อาการนี้เกิดได้ทั้งระบบดิสเบรค และดรัมเบรค

เบรคเสียงดัง

อาการ มีเสียงดังที่เกิดขึ้นในขณะเบรค ส่วนมากเกิดมาจาก ผ้าเบรค และจานเบรค เช่นผ้าเบรคหมด จนเหล็กผ้าสีกับจาน จานเบรคเป็นรอยมากๆเนื่องจากฝุ่น และหินที่หลุดเข้าไปเสียดสี ต้องเจียรจานเบรคใหม่ แต่ถ้าผ้าเบรคก็ใหม่ จานเบรคก็เรียบดี เสียงที่ดังมักเกิดจาก เสียงของผ้าเบรคเอง ผ้าเบรคที่ผลิตไม่ได้มาตราฐาน อัดขึ้นรูปผิดพลาด จะเกิดรอยร้าว เป็นช่องว่างให้อากาศเข้าได้จะเกิดเสียงดัง แล้วอย่าหวังเลยครับว่าใช้ไปเรื่อยๆ แล้วเสียงจะหายเอง ถือว่าน้อยมาก การเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดครับ

เบรคเฟด

คืออาการเบรคลื่นๆ เบรคไม่อยู่ในขณะที่ใช้ความเร็วสูง หรือติดต่อกันหลายๆครั้ง หรือใช้เบรคแบบหักโหม อาการนี้เกิดขึ้นเช่น เวลาที่ขับรถมาด้วยความเร็วสูงมากๆ พอแตะเบรคครั้งแรกก็เบรกอยู่ดี พอแตะเบรคอีกหลายๆทีกลับเกินอาการลื่นเหมือนยังไม่เหยียบเบรคเลย ถือว่าน่ากลัวมาก

สาเหตุเกิดจาก ความร้อนของจานเบรคที่สูงเกินไป จานเบรคที่ใช้งานหนักอาจจะเกิดความร้อนสูงกว่า 1,000 องศา จานเบรกอาจเกิดการไหม้แดง เหมือนเหล็กถูกเผาไฟ และเกิดการขยายตัวมาก การระบายความร้อนของจานเบรคไม่ดี ผ้าเบรกที่มีคุณสมบัติในการทนความร้อนต่ำ จะเกิดการลุกไหม้เสียหาย ไม่สามารถจับจานเบรคให้อยู่ได้ รวมถึงน้ำมันเบรคที่คุณสมบัติในการทนความร้อนต่ำ จะทำให้น้ำมันเบรคเดือด เกิดการขยายตัวเป็นฟองอากาศ ทำให้แรงดันไฮโดลิคลดต่ำลง
อาการเบรคเฟดนี้ ถือเป็นปัญหาของนักซิ่ง ที่ชอบใช้เบรคแบบรุนแรง เบรกบ่อยๆติดต่อกัน และ รถที่ขับด้วย ความเร็วสูง

การดูแลรักษาระบบเบรค และข้อควรระวัง

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรค

แม้ว่าจะไม่มีการรั่วหรือลดระดับลงอย่างใดก็ตาม น้ำมันเบรคควรได้รับการเปลี่ยนถ่ายปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะน้ำมันเบรคมีส่วนประกอบมาจากน้ำมันแร่ จึงมีการรวมตัวกับไอน้ำได้ง่าย ทำให้ระบบเบรคเกิดสนิม ความร้อนที่สูงเกินไปทำให้เกิดฟองอากาศในท่อน้ำมัน ฝุ่นผงที่สึกหรอของลูกยางเบรคจะเสียดสี กับแม่ปั้มเบรก ทำให้กระบอกเบรคเสียหายเร็วขึ้น น้ำมันเบรคต้องเลือกใช้ให้ตรงกับมารตราฐานที่ผู้ผลิตกำหนด เช่น DOT3 จะไม่สามารถนำน้ำมันเบรค DOT อื่นผสม หรือนำน้ำมันอื่นๆเติมแทน เพราะจะทำให้ลูกยางเบรคบวมได้

การเช็คระยะห่างผ้าเบรค

ในระบบดรั้มเบรค ระยะห่างระหว่างผ้า และจานเบรคที่มากขึ้น จะสังเกตได้จากการเหยียบเบรคจะต่ำลง และการดึงเบรคมือที่สูงขึ้น ระดับน้ำมันเบรคลดต่ำลง ควรต้องทำการถอดจานเบรคมาทำความสะอาด เป่าฝุ่นทิ้ง และตั้งระยะผ้าเบรคให้ชิดขึ้น การตั้งจะใช้ไขควงเขี่ยเฟืองตั้งให้หมุนตามฟันตั้ง ด้านหลังจานเบรค ใส่ล้อไขให้แน่นแล้วหมุนสังเกตถ้าล้อเริ่มหมุนฝืดขึ้น ถือว่าใช้ได้ ทำทั้ง 2 ล้อ หรือสังเกตจากเสียงแกรกๆ เวลาดึงเบรคมือควรจะอยู่ที่ 5 – 7 แกรก

การตรวจสอบผ้าเบรค

ผ้าเบรคเป็นส่วนที่สึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น เพราะมีการเสียสีทั้งจานเบรค และฝุ่นต่างๆ ควรถอดเช็คเป็นประจำ สังเกตเปรียบเทียบกับผ้าเบรคของใหม่แกะกล่อง จะมีความหนาเป็น 100 % ผ้าเบรคที่ใช้แล้วความหนาจะลดลงเรื่อยๆ ในจุดที่ต่ำกว่า 40 – 30 % นั้นถือว่าไม่ปลอดภัย เพราะผ้าเบรคในช่วงที่เหลือน้อย การสึกหรอจะรวดเร็วกว่าหลายเท่าตัว จนถึงระดับบางมาก เนื้อผ้าเบรคอาจหลุดร่อนได้อย่างกะทันหัน เป็นผลให้แผ่นเหล็กสีกับจานเบรคจนเสียหาย เสียเงินเพิ่ม หรือถ้าผ้าเบรคหลุดออกจากฝักเบรค ลูกสูบปั้มเบรค และน้ำมันเบรคจะหลุดออก ที่เรียกกันว่าเบรคแตกนั้นเอง

การเปลี่ยนจานเบรค

และการเจียรจานเบรค การใช้ผ้าเบรคที่มีโลหะผสมอยู่มาก ฝุ่น หิน และการปล่อยให้ผ้าเบรคหมด จะทำให้จานเบรคเป็นรอย การขับรถลุยน้ำขณะที่จานเบรคร้อน จะทำให้จานเบรคคด หรือบิดตัว ต้องทำการเจียรจาน ด้วยเครื่องมือเจียรจานเบรก ทำได้ 2 วิธี การถอดจานเบรคมาเจียรด้วยเครื่องเจียรจาน แบบนี้ต้องใช้ค่าแรงสูงและอาจต้องมีการเปลี่ยนจารบีลูกปืนล้อใหม่ เสี่ยงต่อเศษฝุ่นผงเหล็กปะปนกับการประกอบจานเบรคคืน และการใช้เครื่องเจียรจานแบบประชิดล้อ แบบนี้ไม่ต้องเสียเวลาถอดจานเบรค และลูกปืนล้อ แต่ความเที่ยงตรงไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดุมล้อ และลูกปืนล้อ ว่าหลวมหรือคดหรือไม่ การเจียรจะทำให้จานเบรคบางลง จานเบรคที่บางจะทำให้เกิดการแตกร้าว และคดได้ง่าย ควรเปลี่ยนจานเบรคใหม่ถือเป็นการดีที่สุด

การทำความสะอาดจานเบรค

ถ้ามีจารบี หรือสิ่งแปดเปื้อน ติดอยู่ที่จานเบรค ควรใช้น้ำยาล้างจานเบรกโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้น้ำมันอื่นๆมาทำความสะอาด หรือถ้าไมมีจริงๆ ควรใช้ทินเนอร์ 100% หรือ แอลกอลฮอลบริสุทธิเท่านั้น

การตรวจสอบสายอ่อนเบรค

ควรตรวจสอบเป็นประจำสม่ำเสมอ ถ้าเห็นว่ามีอาการบวม บิดคดเสียรูป ปลอกหุ้มภายนอกฉีกขาด หรือมีการเสียดสี ควรรีบเปลี่ยนทันที เพราะอาจจะเกิดการแตกได้ง่ายๆ

การล้างและเปลี่ยนชุดซ่อมเบรค

เบรคที่ได้รับการใช้งานอยู่เป็นประจำ ควรได้รับการเปลี่ยนชุดซ่อม จำพวกลูกยางแม่ปั้มเบรค ลูกยางลูกสูบเบรค และยางกันฝุ่น อย่างน้อย 2 – 4 ปีครั้ง หรือถ้ามีมีการลุยน้ำ ต้องรีบตรวจเช็คทันที เพระลูกยางกันฝุ่นที่เก่าหมดสภาพ จะไม่สามารถกันน้ำและฝุ่นได้ น้ำที่ซึมผ่านเข้าไปในกระบอกเบรค และแม่ปั้มเบรค จะทำลายลูกสูบเบรคให้เกิดสนิม เป็นตามด ในกระบอกเบรค ทำให้เกิดอาการเบรคติด หรือน้ำมันเบรครั่วซึม

ระบบและส่วนประกอบของระบบเบรค

เบรค (Brake) ทำหน้าที่ชลอความเร็วของรถ หรือทำให้รถหยุด ตามความต้องการของผู้ขับรถ รถส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ใช้การถ่ายทอดแรงเหยียบ ที่แป็นเบรค ไปถึงตัวอุปกรณ์หยุดล้อ ด้วยระบบไฮดรอลิกซ์ (Hydraulic)

กล่าวคือ ในขณะที่เราเหยียบเบรคลงที่แป้นเบรค แรงเหยียบนี้ จะถูกส่งไปที่แม่ปั้มน้ำมันเบรค (Master Cylinder) เพื่อทำหน้าที่อัดแรงดันน้ำมันเบรค ออกไปตามท่อน้ำมันเบรค ผ่านวาล์วแยก ส่วนน้ำมันเบรค ไปจนถึงตัวเบรค ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณดุมล้อ และที่ตัวเบรค ก็จะมีลูกปั้มน้ำมันเบรค เมื่อได้รับแรงดันมา ลูกปั้มน้ำมันเบรคจะดันให้ผ้าเบรค ไปเสียดทานกับชุดจานเบรคที่อยู่ใกล้ กับจานดิสก์เบรค หรือ ดรัมเบรค เมื่อเกิดความฝืดขึ้น ล้อก็เริ่มหมุนช้าลง เมื่อเพิ่มน้ำหนัก เหยียบเบรคเข้าไปอีก แรงดันน้ำมันเบรคเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งมีความฝืดที่ล้อเพิ่มขึ้น รถก็จะชลอความเร็วลง จนรถหยุดในที่สุด
ชนิดของเบรค

- ดรัมเบรค (Drum Brake)
- ดิสก์เบรค (Disc Brake)

ดรัมเบรค (Drum Brake)

ในชุดเบรคแบบดรัม ประกอบด้วยตัวดรัม (Drum) เป็นโลหะวงกลมยึดติดกับดุมล้อ หมุนไปพร้อมล้อ และชุดฝักเบรค ซึ่งประกอบด้วยผ้าเบรค กลไกปรับตั้งเบรค สปริงดึงกลับ และลูกสูบปั้มเบรค ซึ่งสายน้ำมันเบรค ก็จะมาเชื่อมต่อกับตัวลูกสูบนี่แหละ ในการดันผ้าเบรคให้ไปเสียดทานกับดรัม เพื่อให้เกิดความฝืด

ดิสก์เบรค (Disc Brake)

ชุดดิสก์เบรค ประกอบด้วย แผ่นจานดิสก์ ติดตั้งลงบนแกนเพลาล้อ เมื่อรถเคลื่อนที่ แผ่นจานดิสก์ จะหมุนไปพร้อมล้อ จากนั้นจะมีอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า คาลิปเปอร์ (Caliper) ที่เรียกกันทั่วไปว่า "ก้ามปูเบรค" สำหรับตัวคาลิปเปอร์ จะติดตั้งโดย ครอบลงไปบนจานดิสก์ (ไม่หมุนไปพร้อมล้อ) ภายในคาลิปเปอร์ มีการติดตั้งผ้าเบรคประกอบอยู่ทางด้านซ้าย และขวาของจานดิสก์ และจะมีลูกปั้มน้ำมันเบรคติดตั้งอยู่ด้วย ซึ่งท่อน้ำมันเบรค ก็จะติดตั้งเชื่อมต่อกับลูกปั้มเบรคนี้ เมื่อใดที่มีการเหยียบเบรค ลูกปั้มเบรค ก็จะดันให้ผ้าเบรค เลื่อนเข้าไปเสียดทาน กับเแผ่นจานดิสก์ เพื่อให้เกิดความฝืด

ดรัมเบรค เป็นอุปกรณ์เบรคมาตรฐาน สำหรับรถยนต์ รุ่นเก่าหน่อย ต่อมาเมื่อมีการใช้ดิสก์เบรคกันมากขึ้น ก็จะเห็น ระบบดิสก์เบรคสำหรับล้อคู่หน้า และดรัมเบรคสำหรับล้อคู่หลัง และในปัจจุบัน ก็สามารถเห็นรถยนต์ที่ ติดตั้งดิสก์เบรคมาทั้ง 4 ล้อ แต่อย่างไรก็ตาม การจะใช้ระบบเบรคแบบดิสก์ หรือดรัมนั้น ขึ้นอยู่กับการ ออกแบบ ระบบของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์แต่ละรุ่นอยู่แล้ว เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดี

ระบบช่วยผ่อนแรงการเหยีบเบรค

อุปกรณ์ช่วยผ่อนแรงในการเหยียบเบรคคือ หม้อลมเบรค (Brake Booster) ซึ่งทำงานด้วยสูญญากาศ (Vacuum) ภายในหม้อลมเบรค จะมีแผ่นไดอะเฟรมอยู่ และที่ตัวหม้อลมเบรคนี้เอง จะมีท่อต่อออกไป เชื่อมต่อกับท่อไอดี เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ก็จะดูดเอาอากาศที่ท่อไอดีเข้าไปเผาไหม้ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ หม้อลมเบรค ถูกดูดอากาศไปใช้งานด้วย ความดันอากาศในหม้อลมเบรค จึงต่ำลงเข้าใกล้ระดับสูญญากาศ

หม้อลมเบรค (Servo)

เมื่อผู้ขับรถต้องการชลอความเร็ว หรือหยุดรถ ก็จะเหยียบลงบนแป้นเบรค แกนเหล็กที่ติดตั้งอยู่บนแกนแป้นเบรค ก็จะเคลื่อนที่ไปดันให้วาล์วอากาศ ของหม้อลมเบรคเปิดออก ทำให้ อากาศภายนอก ไหลเข้าสู่หม้อลมเบรค อย่างเร็ว ก็จะไปดันเอาแผ่นไดอะเฟรมที่ยึดติดกับแกนกดแม่ปั้มเบรค ให้เคลื่อนที่ไปดันลูกสูบในแม่ปัมพ์เบรค พร้อมๆ กับแรงเหยียบเบรคของผู้ขับรถด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ขับรู้สึกว่า เยียบเบรคด้วยความนุ่มนวล ซึ่งเมื่อผู้ขับ คืนเท้าออกจากแป้นเบรคอีกครั้ง แป้นเบรค ก็จะกลับสู่ตำแหน่งเดิม พร้อมด้วยวาล์วอากาศ ของหม้อลมเบรคก็ปิดลง อากาศที่หม้อลมเบรค ก็ยังคงถูกดูดออกไปใช้งาน อย่างสม่ำเสมอ จนกว่าเครื่องยนต์จะดับ

ในกรณีที่เครื่องยนต์ดับ ภายในหม้อลมเบรค ก็ยังคงมีสภาพเป็สูญญากาศอยู่ ดังนั้น หลังจากที่เครื่องยนต์ไม่ทำงาน เรายังคงเหยียบเบรคได้อย่างนุ่มนวล อีกเพียงแค่ 2-3 ครั้ง เพราะอากาศด้านนอกหม้อลมเบรค ก็จะเข้าไปอยู่ในหม้อลมเบรค ในขณะที่ไม่มีการดูดเอาอากาศภายในหม้อลมเบรคไปใช้งาน (เพราะเครื่องยนต์ ไม่ทำงาน ไม่มีการดูดไอดีไปใช้งาน) เมื่ออากาศเข้าไปบรรจุดอยู่ในหม้อลมเบรค จนเต็ม ก็ไม่มีแรง จากหม้อลมเบรค มาช่วยดันลูกสูบในแม่ปั้มเบรค ทำให้ผู้ขับจะต้องออกแรงเหยียบแบรคมากขึ้นไปด้วย

ระบบเบรค 1 วงจร และ 2 วงจร

ระบบเบรคแบบ 1 วงจร จะทำการจ่ายน้ำมันเบรค จากแม่ปั้มเบรค กระจายไปให้กับเบรค ทั้ง 4 ล้อ ซึ่งมีข้อเสียคือ เมื่อน้ำมันเบรค เกิดรั่วไหล ณ จุดใดจุดหนึ่ง ของระบบเบรค เมื่อเหยียบเบรค แรงดันน้ำมันเบรค ก็ไม่สามารถ ไปดันลูกสูบเบรคให้ขยายตัวได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะน้ำมันเบรคไหลออกไปที่จุดรั่ว ทำให้ผู้ขับไม่สามารถควบคุม การหยุดรถได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจเกิดอันตรายได้ในที่สุด

รถยนต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะใช้ระบบเบรค 2 วงจร กล่าวคือ ตัวแม่ปั้มเบรค จำทำการปั้มน้ำมันเบรคออกไป 2 ท่อ เพื่อไปเบรคล้อ 2 คู่ เพราะเมื่อเกิดเหตุรั่วใหลของน้ำมันเบรค ตามท่อส่งน้ำมันเบรค หรือบริเวณจุดรั่วที่ใดที่หนึ่ง ระบบเบรคของล้อคู่นั้นก็ไม่สามารถทำงานได้ แต่ล้อที่เหลืออีกคู่หนึ่งก็ยังคงใช้งานได้ (ซึ่งอาจจะทำได้ไม่ดีนัก สำหรับ การหยุดรถทั้งคัน) แต่อย่างน้อยที่สุด ผู้ขับขี่ก็ยังรู้ว่า มีบางอย่างผิดปกติ เกิดขึ้นกับระบบเบรค และยังพอ มีเวลาที่จะควบคุมรถไปซ่อมแซมได้

หมายเหตุ :
รถขับเคลื่อนล้อหน้า ใช้ระบบเบรค 2 วงจรแบบไขว้ เนื่องจากน้ำหนักเครื่องยนต์ เกียร์ เฟืองท้าย เพลาขับ ทำให้ช่วงหน้ารถมีน้ำหนักมาก เมื่อเหยียบเบรค จุดศูนย์ถ่วง จะไปรวมอยู่ที่ล้อหน้ามาก ในกรณีที่ระบบเบรคของวงจรใดวงจรหนึ่งชำรุด ประสิทธิภาพของการเบรค จะลดลงครึ่งหนึ่งจากปกติ แต่การหยุดรถ จะยังคงมีเสียรภาพอยู่

ระบบเบรค ABS (Antilock brake system)

ระบบเบรค ABS มีจุดประสงค์ ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเบรคล็อคตาย กล่าวคือ เมื่อผู้ขับขี่ ขับรถไปตามเส้นทาง เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆ ที่ต้องทำให้เกิดการเหยียบเบรคอย่างกระทันหัน แรงเบรคที่กระทำออกมา ก็จะส่งผลให้ น้ำมันเบรค มีแรงดันสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบเบรคที่ประจำอยู่แต่ละล้อ ก็จะทำให้ล้อหยุดอย่างกระทันหันเช่นกัน เมื่อรถที่วิ่งด้วยความเร็ว แล้วเกิดล้อล็อคตายเช่นนี้ จะทำให้เกิดการลื่นไถล เช่น เมื่อล้อคู่หลังล็อคตาย ก็จะเกิดอาการปัด ไถลออกไปด้านข้าง ทำให้เสียการทรงตัว และควบคุมรถด้วยความลำบากเพิ่มขึ้น แต่ถ้าการล็อคตายเกิดกับล้อคู่หน้า ซึ่งเป็นล้อที่ควบคุมการขับขี่ด้วยแล้ว โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ จะต้องมีมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และถ้าเหตุการณ์ตอนนั้น อยู่ในสภาวะถนนลื่น หรือฝนตกหละก็ ยิ่งอันตรายมากขึ้นไปอีก

ระบบเบรค ABS ประกอบด้วยฟันเฟืองวงแหวน ติดตั้งเกาะอยู่กับดิสก์ หรือเพลาหมุน และจะมีอุปกรณ์เซนเซอร์ (Sensor) ติดตั้งอยู่ใกล้กับฟันเฟืองดังกล่าว เมื่อล้อหมุนไป ฟันเฟืองจะหมุนตาม เซนเซอร์จะตรวจจับอัตราการหมุนของฟันเฟือง แล้วรายงานอัตราความเร็วดังกล่าว ไปให้กับชุดควบคุมอิเลคทรอนิค (ECU) ของระบบ ABS ทราบ จากนั้น ชุดอุปกรณ์ควบคุมดังกล่าว ก็จะสั่งการทำงานไปเปิด-ปิดวาล์วความดันน้ำมันเบรค ที่ติดตั้งร่วมเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของวงจรท่อน้ำมันเบรค

โปรแกรมการทำงาน ที่อยู่ในชุดควบคุมอิเลคทรอนิค จะคอยตรวจสอบสัญญาณจากเซนเซอร์อยู่เสมอ เมื่อกรณีที่ผู้ขับขี่เหยียบเบรคครั้งใด วาล์วความดันน้ำมันเบรค จะเปิด-ปิด เพื่อลด-เพิ่ม แรงดันไปกระทำกับตัวเบรคที่ติดตั้งประจำแต่ละล้อ การเปิด-ปิดวาล์วที่เกิดขึ้น จะมีความถี่ประมาณ 15 ครั้งต่อวินาที ตัวเบรคที่ติดตั้งอยู่ประจำล้อ ก็จะทำการ จับ-ปล่อย-จับ-ปล่อย ด้วยความถี่เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้ใช้รถจึงมีความรู้สึกเวลาเหยียบเบรคว่า มีแรงสะท้าน สะท้อนออกมาถี่ๆ ที่ปลายเท้าขณะเหยียบเบรค นั่นคือการทำงานของวาล์ว ควบคุมแรงดันน้ำมันเบรคนั่นเอง

ดิสเบรก (Disc brake)

เป็นระบบเบรกแบบใหม่ที่นิยมกันมาก เบรกจะทำงานโดยดันผ้าเบรกให้สัมผัสกับจานเบรกเพื่อให้หยุด บางรุ่นใช้ดิสเบรกทั้ง 4 ล้อ บางรุ่นใช้เฉพาะล้อหน้า

ข้อดี ลดอาการเฟด(เบรกหาย) เนื่องจากอากาศสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าดรัมเบรกนอกจากนี้เมื่อเบรกเปียกน้ำผ้าเบรกจะสลัดน้ำออกจากระบบได้ดี ในขณะที่ดรัมเบรกน้ำจะขังอยู่ภายในและใช้เวลาในการถ่ายเทค่อนข้างช้า

ข้อเสีย ไม่มีระบบ Servo action หรือ multiplying action เหมือนกับดรัมเบรกผู้ขับต้องออกแรงมากกว่าจึงต้องใช้ระบบเพิ่มกำลัง เพื่อเป็นการผ่อนแรงขณะเหยียบเบรกทำให้ระบบดิสเบรกมีราคาค่อนข้างแพงกว่าดรัมเบรก

ดิสเบรก มีทั้ง 3 ชนิดดังนี้

2.1 ดิสเบรกแบบก้ามปูยึดติดอยู่กับที่ (Fixed position disc brake)

ดิสเบรกจะมีผ้าเบรกอยู่ 2 แผ่นติดอยู่ภายในก้ามปู (คาลิปเปอร์) วางประกบกับจานเบรกเพื่อที่จะบีบจานเบรกตัวก้ามปูนั้นเป็นเพียงที่ยึดของลูกปั้มเท ่านั้น จะไม่เคลื่อนที่ขณะเบรกทำงาน ดิสเบรกแบบนี้มีช่องทางเดินน้ำมันเบรกอยู่ภายในตัวก้ามปู หรืออาจมีท่อเชื่อมต่อ
ระหว่างลูกปั้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรถยนต์แต่ละชนิด

2.2 ดิสเบรกแบบก้ามปูแกว่งได้ (Swinging caliper disc brake)

พบมากในรถยนต์ทั่วไป หลักการทำงานแตกต่างจากก้ามปูยึดอยู่กับที่ เบรกแบบนี้จะมีลูกปั้มหนึ่งตัวคอยดันผ้าเบรกแผ่นหนึ่ง ส่วนผ้าเบรกอีกแผ่นจะติดอยู่กับตัวก้ามปูเองซึ่งตัวก้ามปูนี้สามารถเคลื่อนไปมาได้ เมื่อเหยียบเบรกน้ำมันเบรกจะดันลูกปั้มออกไปผ้าเบรกแผ่นที่ติดอยู่กับลูกปั้มจะเข้าไปประกบกับจานเบรก ในขณะเดียวกันน้ำมันเบรกก็จะดันตัวก้ามปูทั้งตัวให้เคลื่อนที่สวนทางกับลูกปั้ม ผ้าเบรกตัวที่ติดกับก้ามปูก็จะเข้าประกบกับจานเบรกอีกด้านหนึ่งพร้อมกับผ้าเบรกแผ่นแรก

2.3 ดิสเบรกแบบเคลื่อนที่ไปมาได้ (Sliding Caliper disc brake)

หลักการแบบเดียวกับดิสเบรกแบบแผ่น แต่ใช้ลูกปั้มสองตัว ตัวแรกเป็นตัวดันผ้าเบรกโดยตรง ส่วนอีกตัวจะดันก้ามปู ซึ่งมีผ้าเบรกติดอยู่ให้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับลูกปั้มตัวแรก แผ่นผ้าเบรกทั้งสองจะเข้าประกบกับจานเบรกทั้งสองด้านพร้อมๆ กัน

ชนิดของผ้าเบรค

ผ้าดิสก์เบรคที่มีจำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาดขณะนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้

1. กลุ่มผ้าดิสก์เบรกราคาถูกทั่วไปที่มีส่วนผสมของสาร Asbestos หรือที่เรียกกันว่า "ผ้าใบ" จะมีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ คุณสมบัติในการเบรก จะใช้ได้ในความเร็วต่ำๆ หรือระยะต้นๆ แต่เมื่อความเร็วสูงขึ้น ประสิทธิภาพในการเบรกจะลดลงอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญ อายุการใช้งานจะสั้น ผ้าดิสก์เบรกหมดเร็ว นอกจากนั้นแร่ใยหินมีผลต่อสุขภาพ ในปัจจุบันจึงมีการใช้น้อยลง

2. กลุ่มที่ไม่มีส่วนผสมของสาร Asbestor หรือกลุ่ม Non-organic แบ่งออกเป็น 2ชนิด คือ
2.1 ชนิดที่มีส่วนผสมส่วนใหญ่เป็นโลหะ (Semi-metallic) จะเป็นผ้าดิสก์เบรกของผู้ผลิตจากยุโรป หรืออเมริกา เช่น Bendix Mintex

2.2 ชนิดที่มีส่วนผสมของสารอนินทรีย์อื่นๆ จะเป็นผ้าดิสก์เบรกของผู้ผลิตจากญี่ปุ่นเช่น Akebono
ทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นผ้าดิสก์เบรกที่เกรดใกล้เคียงกัน

คุณสมบัติที่สำคัญของผ้าดิสก์เบรก

สัมประสิทธิ์ของความฝืด
ผ้าดิสก์เบรกที่มีสัมประสิทธิ์ของความฝืดสูง จะมีผลต่อการเบรกได้ดีกว่า เป็นผลให้สามารถสร้างกลไกเบรกให้เล็กลงได้ และต้องการแรงเหยียบเบรกน้อยลง อย่างไรก็ตาม เบรกที่มีสัมประสิทธิ์สูงทำให้ยากต่อการควบคุม ดังนั้นจำเป็นต้องรักษาศูนย์ล้อให้ถูกต้องให้สอดคล้อ งกันด้วย

ความทนทานต่อการสึกหรอ

การสึกหรอของผ้าดิสก์เบรกเปลี่ยนแปลงไปตามความเร็วขอ งรถยนต์ และอุณหภูมิเบรก อย่างไรก็ตาม ผ้าดิสก์เบรกที่ทนทานต่อการสึกหรอได้ดี จะเป็นเหตุให้จานเบรกเกิดการสึกหรอ หรือเกิดรอยมากเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของรถไม่ต้องการ

การเบรกไม่อยู่ และการชดเชย

เมื่ออุณหภูมิของผ้าเบรกเพิ่มขึ้น เนื่องจากความฝืดซึ่งทำให้เกิดความร้อน สัมประสิทธิ์ทางความฝืดจะลดลง และผลในการเบรกลดลง เป็นเหตุให้การเบรกไม่มีความแน่นอน ปรากฎการณ์นี้เป็นที่ทราบกันคือการเบรกไม่อยู่
เมื่อเบรกร้อนซึ่งเป็นสาเหตุให้สัมประสิทธิ์ลดลง ผ้าเบรกจะต้องสามารถเย็นลงไปสู่สัมประสิทธิ์เดิมได้ เรียกว่า การชดเชยผ้าเบรกที่มีการเปลี่ยนแปลงสัมประสิทธิ์ไปตา มอุณหภูมิน้อย เป็นผ้าเบรกชนิดที่คุณภาพดี อย่างไรก็ตาม ตามความจริงผ้าเบรกที่มีพื้นที่น้อยจะมีความร้อนได้ง ่ายกว่า ทำให้สัมประสิทธิ์ลดลง และมีผลต่อประสิทธิภาพในการเบรก
การเบรกไม่อยู่ก็อาจเกิดขึ้นได้ง่ายจากการที่ผิวหน้า สัมผัสของผ้าเบรกไม่ถูกต้อง และการที่ผ้าเบรกจับไม่สม่ำเสมอก็จะเป็นสาเหตุให้เบร กดึงข้างไดข้างหนึ่ง
ผิวหน้าสัมผัสของผ้าเบรกข้างซ้ายและขวาไม่จับที่ตำแห น่งเดียวกัน หรือจับไม่เท่ากันก็จะเป็นเหตุให้อุณหภูมิของเบรกทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน ทำให้เบรกดึงไปข้างใดข้างหนึ่ง

การเปรียบเทียบคุณสมบัติของผ้าเบรกAsbestos กับ Metallic

เปรียบเทียบความฝืด(Friction) กับอุณหภูมิ(Temperature)
- ที่อุณหภูมิต่ำ หรือขณะที่ผ้าเบรกยังไม่มีเกิดความร้อน ผ้าเบรก Asbestos จะมีความฝืดมากกว่าผ้าเบรก Metallic
- แต่เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง หรือผ้าเบรกเกิดความร้อน มีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้ว ผ้าเบรก Metallic จะมีความฝืดมากกว่า ผ้าเบรก Asbestos
นั่นคือ ในช่วงแรกของการใช้งาน เมื่อรถเคลื่อนตัว ผ้าเบรก Asbestos จะเบรกได้ดีกว่าผ้าเบรก Metallic แต่เมื่อความเร็วสูงขึ้น ผ้าเบรก Metallic จะสามารถเบรกได้ดีกว่าผ้าเบรก Asbestos
เปรียบเทียบการสึก หรือการหมดของผ้าเบรก กับอุณหภูมิ
- ณ ที่อุณหภูมิต่ำ หรือขณะที่ผ้าเบรกยังไม่เกิดความร้อน การสึกของผ้าเบรก Metallic กับผ้าเบรก Asbestos จะพอๆกัน
- เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ผ้าเบรก Asbestos จะมีการสึกหรอมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ผ้าเบรก Metallic การสึกหรอจะค่อยลดลง นั่นก็คือความทนทานต่อการสึกหรอ ของผ้าเบรก Metallic จะสูงกว่าผ้าเบรก Asbestos

น้ำมันเบรค

ถ้าพูดถึงระบบเบรคที่ดีนั้นย่อมให้ความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่ทั้งหลาย ทั้งนี้นอกจากชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบเบรคไม่ว่าจะเป็นจานเบรค แม่ปั๊มเบรก คาลิปเปอร์เบรค ผ้าเบรค ที่ต้องปฏิบัติงานอย่างถูกต้องแล้ว น้ำมันเบรคที่จะใช้ในระบบเบรคก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่จะให้ความมั่นใจกับผู้ขับขี่ทุกครั้งที่มีการเหยียบเบรค เริ่มทำความรู้จักกับน้ำมันเบรค (Brake Fluid) ที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ว่าคืออะไร ทำหน้าที่อะไร สำคัญเช่นไร แล้วทำไมต้องดูแลหรือเปลี่ยนตามระยะเวลา หรือระยะทางตามที่กำหนด

น้ำมันเบรคคือ ของเหลวที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลังโดยของเหลว หรือเรียกว่าเป็นตัวไฮดรอลิกก็ได้เมื่อเราเหยียบเบรคที่แป้นเบรค แรงดันที่เหยียบจะถูกถ่ายทอดผ่านของเหลว(น้ำมันเบรก)ในระบบไปยังห้ามล้อทั้ง 4 ล้อ ซึ่งจะทำให้ความเร็วของรถช้าลง หรือหยุดตามแรงกดที่ต้องการ

น้ำมันเบรคที่ดีนอกจากจะเป็นตัวกลางถ่ายทอดกำลัง (ไฮดรอลิก)จากแป้นเหยียบเบรคแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกดังนี้

- เป็นตัวหล่อลื่นส่วนต่างๆ ในระบบเบรก เช่น แม่ปั๊มเบรคและลูกปั๊มเบรค เนื่องจากต้องมีการเสียดสีของลูกสูบเบรค ลูกยางเบรก ภายในแม่ปั๊มเบรค ลูกปั๊มเบรค นับครั้งไม่ถ้วน ถ้าปราศจากการหล่อลื่นก็จะทำให้เกิดการสึกหรอ เกิดการรั่วภายหลังได้

- มีความหนืดที่เหมาะสม ซึ่งหมายความว่าสามารถใช้ได้ในอุณหภูมิต่างๆ ไม่ว่าร้อนหรือเย็นมีความหนืดที่ยืดหยุ่นได้ ไม่ข้นเกินไปแม้ว่าจะใช้ในอุณหภูมิติดลบ

- ไม่เป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนที่เป็นโลหะในระบบหรือลูกยางต่างๆ เนื่องจากระบบเบรคเป็นระบบความปลอดภัยที่สำคัญ ถ้าการทำงานของชิ้นส่วนต่างๆ ในส่วนของไฮดรอลิกบกพร่องจะเกิดอันตรายอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสนิมในระบบสร้างแรงดัน หรือลูกยางเสื่อมสภาพ

- มีจุดเดือดสูงและไม่ระเหยได้ง่ายคุณสมบัตินี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่เป็นตัวบอกว่าน้ำมันเบรคยังคงมีสภาพใช้งานได้อยู่หรือไม่จุดเดือดสูงก็จะเสื่อมสภาพได้ยากกว่าและทนต่อแรงดันจากการที่เหยียบแรงๆ ต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี

- คงสภาพได้นาน หมายถึง รักษาคุณสมบัติต่างๆ ได้นานไม่ว่าจะมีผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมธรรมชาติเช่น เรื่องของความชื้นหรือเกิดจากการใช้งานปกติ

มาตรฐานด้านความปลอดภัยได้กำหนดชื่อมาตรฐานสำหรับน้ำมันเบรคว่า DOT (Department of Transportation) ที่เรียกจนติดปาก โดยกำหนดจุดเดือดของน้ำมันเบรก DOT3 ไม่ต่ำกว่า 205 องศาเซลเซียส DOT4 ไม่ต่ำกว่า 230 องศาเซลเซียส DOT5 260 องศาเซลเซียส

สำคัญอย่างไร
จากคุณสมบัติของน้ำมันเบรคจะเห็นได้ว่าจุดเดือดของน้ำมันเบรคเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเวลาเราเหยียบเบรคที่ความเร็วสูงหรือบรรทุกหนัก อุณหภูมิที่ผ้าเบรคและจานเบรคจะสูงมาก ความร้อนดังกล่าวจะถ่ายเทมายังน้ำมันเบรคด้วย ถ้าน้ำมันเบรคมีจุดเดือดต่ำจะสามารถระเหยและกลายเป็นไอได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดกำลัง หรือทำหน้าที่ไฮดรอลิกในระบบเบรคได้ จะทำให้เกิดเบรคไม่อยู่ เบรคจม หรือเรียกว่า เบรคแตก

ยกตัวอย่างการขับขี่ที่ใช้เบรคมากกว่าปกติ นั่นคือการใช้เบรคขณะลงเขา กรณีดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ถ้าผู้ขับขี่ไม่ระวัง หรือใช้เบรคมากจนเกินไป การลงเขาที่ถูกต้องนั้น ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นได้ว่าข้างทางจะมีป้ายเตือนให้ผู้ขับรถใช้เกียร์ต่ำ ดังนั้นการใช้เกียร์ต่ำก็คือการให้เครื่องยนต์เป็นตัวช่วยในการเบรคนั่นเอง (Engine Brake) การทำดังกล่าวจะเป็นการช่วยลดภาระของระบบเบรคได้มากทีเดียว การใช้เกียร์ต่ำคือการลดเกียร์ลง เช่น กรณีใช้เกียร์สี่อยู่ก็ให้ลดมาที่เกียร์สาม หรือเกียร์สอง ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าเวลาลดเกียร์ รอบเครื่องยนต์จะสูงขึ้น นั่นก็คือการใช้เครื่องยนต์เป็นตัวช่วยเบรค การทำดังกล่าวก็สามารถทำกับเกียร์อัตโนมัติได้เช่นกัน โดยดึงคันเกียร์จาก D มาที่ 3 หรือ 2 แล้วปล่อยให้เครื่องยนต์ฉุดรั้งไว้ พร้อมทั้งเหยียบเบรคช่วย จะทำให้อุณหภูมิเบรคไม่ร้อนจนเกินไป

สำหรับท่านที่ใช้เบรคมากเกินไปจนรู้สึกว่าเบรคไม่อยู่ หรือได้กลิ่นไหม้จากการเบรค ให้รีบจอดรถข้างทาง รอจนกว่าเบรคจะเย็นหรือประมาณ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย ลองทดสอบเบรคดู ถ้าเบรคอยู่แล้ว ให้ค่อยๆขับต่อโดยขับช้าๆ พร้อมใช้เกียร์ต่ำ และเบรคเท่าที่จำเป็น การขับรถช้าๆ ความเร็วของรถจะไม่สูง ดังนั้นการใช้เบรคก็จะน้อยตามไปด้วย

ทำไมต้องเปลี่ยน
จากตัวอย่างการเกิดเบรคจมหรือเบรคไม่อยู่ขณะลงทางชันหรือลงจากเขา ส่วนหนึ่งมาจากน้ำมันเบรคไม่สามารถทนความร้อนจากการเบรคในลักษณะการขับขี่ที่ไม่ถูกต้อง หรือน้ำมันเบรคเสื่อมสภาพ (จุดเดือดต่ำลง) ดังนั้นการที่ต้องทำให้น้ำมันเบรคมีจุดเดือดสูงนั้น เนื่องจากว่าสารเคมีในน้ำมันเบรคมีคุณสมบัติดูดซับความชื้น ยิ่งในเขตที่มีความชื้นสูงอย่างประเทศไทย ความชื้นยิ่งมีโอกาสแทรกไปปนอยู่ในน้ำมันเบรคได้ง่ายขึ้น โดยจะทำให้จุดเดือดของน้ำมันเบรค ลดลงตามลำดับ ดังนั้นคุณสมบัติของน้ำมันเบรคจึงควรมีจุดเดือดสูงไว้ตั้งแต่แรก ได้เคยมีผู้ทดลองไว้ว่าภายในระยะ 12-15 เดือน น้ำมันเบรคสามารถดูดซับความชื้นทำให้จุดเดือดลดลงเหลือประมาณ 140 องศาหรือต่ำกว่า ซึ่งถ้าหากใช้ต่อไปอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่ปลอดภัยต่อผู้ขับขี่ได้ อีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อมีการดูดซับความชื้นเข้าไปในระบบ (มีน้ำเข้าไป) ก็จะทำให้เกิดสนิมได้เมื่อใช้ไปนานๆ บางครั้งเมื่อเราเจอปัญหาเรื่องเบรคไม่อยู่ หรือรั่ว ช่างก็จะถอดแม่ปั๊มเบรคออกมาดูจะพบว่าลูกยางตาย เสื่อมสภาพ กระบอกสูบของแม่ปั๊มเบรคเป็นสนิม หรือตามด ถ้าเกิดสนิมตามดเล็กน้อยก็สามารถใช้กระดาษลูบแก้ไข แต่ถ้ากินจนเนื้อหายก็ต้องเปลี่ยนทั้งแม่ปั๊ม ท่านเจ้าของรถหลายท่านรวมถึงช่างบางคนก็ยังไม่รู้ว่าสนิมเหล่านั้นมาได้อย่างไร

ปัจจุบันมีเครื่องวัดคุณภาพของน้ำมันเบรคว่าน้ำมันเบรกที่เราใช้อยู่นั้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้อยู่ หรืออยู่ในส่วนที่เป็นอันตรายแล้ว การวัดดังกล่าวใช้เวลาสั้นมากเพียงแค่ 2-3 วินาทีก็สามารถรู้ได้ว่าน้ำมันเบรคเสื่อมสภาพแล้วหรือยัง การวัดสภาพน้ำมันเบรค สามารถปรับตั้งค่าการวัดที่ตัววัดสภาพน้ำมันเบรคได้ เนื่องจากคุณภาพน้ำมันเบรค เกรดน้ำมันเบรคแตกต่างกัน (DOT) แล้วแต่ผู้ให้บริการ หรือศูนย์บริการซ่อมเลือกใช้ การวัดจากเครื่องวัดจะบอกเป็นตัวเลขและสภาพไปพร้อมๆกัน ตัวอย่างเช่น เลข “0” หมายถึง น้ำมันเบรคใหม่ (new oil) เลข “1-2” น้ำมันเบรคปกติ (Normal) เลข “3-4” ควรเปลี่ยน (Change) เลข “5-6” อันตราย (Danger)

การเลือกเกรดน้ำมันเบรคปัจจุบันก็มีให้เลือกหลายยี่ห้อตามแต่จะเลือกใช้ ส่วนใหญ่ก็จะเลือกใช้ยี่ห้อเดิม หรือตามที่ศูนย์บริการเปลี่ยนให้ โดยส่วนใหญ่จะใช้ DOT4 สามารถดูได้ข้างกระป๋องว่าที่เราใช้อยู่นั้นเป็นเกรด หรือ DOT อะไร การเลือกใช้น้ำมันเบรคที่มี DOT สูงกว่าไม่เป็นการผิดแต่อย่างใด แต่จะมีค่าตัวสูงกว่าเดิมเล็กน้อย การเปลี่ยนยี่ห้อน้ำมันจากที่เราเคยใช้อยู่นั้น ควรถ่ายของเดิมทิ้งให้หมด แล้วเลือกเติมตามที่เราต้องการ แต่ควรเป็น DOT ที่เท่ากัน หรือสูงกว่าเท่านั้น

ดังนั้น ผู้ใช้รถควรหมั่นตรวจสอบ และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรคตามระยะที่กำหนด โดยเฉพาะผู้ที่ขับรถด้วยความเร็วสูง ผู้ที่บรรทุกหนักหรือวิ่งทางลาดชันบ่อยๆ และใช้งานเบรคหนักต่อเนื่องบ่อย ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรคทุกๆ 1 ปี ถ้าไม่แน่ใจก็ให้สอบถามตามศูนย์บริการมาตรฐานทั่วไป โดยระยะเวลาหรือระยะทางของแต่ละบริษัท อาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็เป็นพื้นฐานใกล้เคียงกัน ดังนั้นอยากให้ผู้ใช้รถตระหนักถึงเรื่องน้ำมันเบรคด้วย เพราะถ้าระบบเบรคมีปัญหาในช่วงขับขันจะเกิดอันตรายทั้งร่างกายและทรัพย์สินของผู้ขับขี่ ผู้โดยสารรวมถึงบุคคลอื่นที่อาจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย


ที่มา http://www.one2car.com